ลำปาง-เปิดงาน “ลำปางอุตสาหกรรมแฟร์ “Lampang industrial technology and innovation สร้างโอกาสการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ขยายช่องทางการตลาด

0
38

ลำปาง-เปิดงาน “ลำปางอุตสาหกรรมแฟร์ “Lampang industrial technology and innovation สร้างโอกาสการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ขยายช่องทางการตลาด

เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 18 มี.ค.2566 ที่ จ.ลำปาง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าลำปาง สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง ร่วมกับ อบจ.ลำปาง จัดงาน”ลำปางอุตสาหกรรมแฟร์ “Lampang industrial technology and innovation fair” ภายใต้โครงการ Lampang World Class Fair (เซรามิกและหัตถอุตสาหกรรม)โดยมี นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ส.ส.ลำปาง เขต 1 เป็นประธานเปิดโครงการฯโดยนายบุญศักดิ์ ชัยสุทธิวงศ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง กล่าวต้อนรับ นายทวี ยะพัฒนา รองประธานอาวุโส สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดี และ น.ส.ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร นายก อบจ.ลำปาง กล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ สมาชิกสภา อบจ.ลำปาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปางและหน่วยงานราชการร่วมในพิธีเปิดอย่างคับคั่ง

อบจ.ลำปางเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ส่งเสริมการพาณิชย์ และส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของ จ.ลำปาง สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ประกอบกับคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง มีนโยบายสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี การพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจเกษตรแปรรูป พัฒนาระบบตลาด สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรมของจังหวัด

จึงผสานความร่วมมือกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง จัดโครงการลำปางอุตสาหกรรมแฟร์ “Lampang industrial technology and innovation fair” ภายใต้โครงการ Lampang World Class Fair (เซรามิกและหัตถอุตสาหกรรม) กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย 1. การจัดนิทรรศการแสดงสินค้า นวัตกรรม และเทคโนโลยี จากหน่วยภาครัฐ ภาคเอกชน สถานศึกษา และผู้ประกอบการ ในพื้นที่ จ.ลำปาง
2. การแข่งขัน ROBOT CONTEST แข่งขัน E – SPORT และกิจกรรมอื่น ๆ

โดย จ.ลำปางเป็นพื้นที่นำร่อง การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมีการผลักดันให้จังหวัดลำปางเป็นนครหัตถศิลป์ ถิ่นอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยการใช้อัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรม เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้า และบริการในเชิงสร้างสรค์ ให้มีศักยภาพและความพร้อมในการดำเนิน “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” ซึ่งเป็น “วาระแห่งชาติ” ที่ประเทศไทยจะต้องขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมในอนาคต ภายใต้เป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน (SDGs) ตามร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ให้เป็นไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน.

วินัย/ลำปาง รายงาน