อะหมัด/มาวันดี/ยะลา/17ม.ค.68/082-2608313
ยะลา – ม.อ.ร่วมกับ สนช.เดินหน้าผลักดันธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อเนื่อง
ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออก คณะอุตสาหกรรมเกษตร มอ.ผลักดันผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ขายแดน สู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม ภายใต้โครงการนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน ประจำปี 2568
วันนี้ 17 มกราคม 2568 ที่ ห้องประชุมกังสดาล โรงแรมยะลาแกรนด์พาเลซ เขตเทศบาลนครยะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา พ.ญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงาน ฝึกอบรมการจัดการนวัตกรรม สำหรับพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน (สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) โดยมีผู้บริหารหน่วยงานและผู้แทนเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนผู้ประกอบการในพื้นที่เข้าร่วม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปุณณาณี สัมภวะผล หัวหน้าโครงการนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า โครงการนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดภาคใด้ชายแดน โดยศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออก คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้เครือข่ายพัฒนานวัตกรรมของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีพันธกิจในการขับเคลื่อนโครงการนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส นอกจากนี้ได้ดำเนิน กิจกรรมหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการนวัตกรรม สำหรับพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน (Deep South Innovation Business Coaching Program) ซึ่งขยายไปยังจังหวัดสงขลา และสตูล ให้ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด เพื่อเปิดโอกาสให้ เครือข่ายทายาท นักธุรกิจรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ที่สืบทอดธุรกิจ หรืออยากเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง กลุ่ม Smart SMEs และ Startup กลุ่มผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ และกลุ่มผู้บริหารองค์กร บริษัท หน่วยงานภาครัฐต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัยที่มีการบ่มเพาะ ให้บริการ หรือมีกิจกรรม ส่งเสริม Smart SMEs และ Startup ในพื้นที่ ได้เรียนรู้ และเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจนวัตกรรม เพื่อต่อยอดธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่ให้เติบโดยิ่งขึ้นไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปุณณาณี กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพรวมกิจกรรมโครงการนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน จะประกอบไป ด้วย 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การฝึกอบรมขั้นพื้นฐาน ที่มีการให้ความรู้พื้นฐานและการทำความเข้าใจในการทำธุรกิจนวัตกรรม การสร้างการรับรู้และจุดประกายแนวคิดในการทำธุรกิจนวัตกรรม แนวทางและข้อคิดในการดำเนินธุรกิจนวัตกรรม และกิจกรรมให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่สนใจ กิจกรรมการฝึกอบรมแบบเข้มข้น (8 Weeks Mentor & Coaching) ที่จะทำการคัดเลือก ผู้ประกอบการที่สนใจทำธุรกิจนวัตกรรม จากกิจกรรมการฝึกอบรมขั้นพื้นฐาน จำนวน 30 รายเข้าสู่การอบรมแบบเข้มข้น ตลอดระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยจะจัดกิจกรรมในวันเสาร์และอาทิตย์ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี จังหวัดปัตตานี ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม 2568เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจนวัตกรรม และเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถ พัฒนาข้อเสนอโครงการให้พร้อมเข้าสู่กระบวนการขอรับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มูลค่าหนึ่งล้านห้าแสนบาท ในลำดับถัดไป และกิจกรรมบ่มเพาะและส่งเสริมการขอรับทุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดยจะคัดเลือกจากผู้ประกอบการที่ได้รับการอบรมในกิจกรรม 8 Weeks Mentor & Coaching จำนวน 10 รายโดยกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการอบรมชั้นพื้นฐาน 3 Days Smart SMEs and Startup จะดำเนินจัดขึ้นใน 3 จังหวัด เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่ที่ท่านเดินทางได้สะดวกที่สุดโดยจัดขึ้น
สำหับในกิจกรรมนี้ มีผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 3 จังหวัด จำนวน 150 ราย และผู้ที่เข้า ร่วมกิจกรรมอบรมขั้นพื้นฐานในวันนี้ สามารถยื่นนำเสนอโครงการเพื่อรับการคัดเลือกเข้าสู่การอบรมในกิจกรรม (8 Weeks Mentor & Coaching) ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 โดยโครงการที่ได้รับการคัดเลือกทั้งหมด 30 โครงการ จะได้เข้ารับการอบรมแบบเข้มข้นในเดือนกุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม 2568 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการนวัตกรรม สำหรับพัฒนาผู้ประกอบการ ธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ประกอบการในพื้นที่ในฐานะหลักสูตรที่สามารถขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรมให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน
ใส่ความเห็น