![](https://www.aec-tv-online2.com/wp-content/uploads/2025/02/1000032167-768x1024.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi7R32Qi6800Ha3DGFBq0d4bwawwylc53AhNTODFRW372lWUobonOkrx_WNg_dG6_JAZK_40jop5VXy-asjTOkbbtagHie1s0Yp7V7QhcojKivs6eMknit6ZGEVgLmfG9phVr2We1i3Ia0cw_8fJj9Jf75L2AteToNeFF-I7-bGuAOT639ZOGXH-zbjqa4/s320/1000032164.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg0zjlHRu0XTAUXcZi4e7KJrOXoK5xRYUVdp6rGK-C89RgtmUiydZH7tKjqpNamzvk5ClZukvcoaNlIhqQsnu8Tdfs9W7hICGGrWohZ89_YOyvUijVUorg1e1dzJAM3B4nUvyQoRlmzI3FgUfRAwpruIT4u2ZYk1goSy7OD_QTohINGnrOOydysKm44uVw/s320/1000032167.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgQzQOm75xI2zs9yuMw6uRc-ZvAIt_QKZBztwThhX3vxqb2TMJKNZOEVnjn0PFJZro-Br2kLANs4p5_omO5r8C2SMHx9gxJ2CYdZlkpMQ9RgbYnbH7DB-GUUtRgWxiq0fDXy6pnlOke_bRJAGBEUfTb8gdpkIUb9X7khgMq91XgFCr3xWkWV7-NG6DxNoA/s320/1000032168.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhK4FoqUrQatrbjNEW0FieCR4Hp1RwnoPC3QvzoYmXph3LzG7_EfgbG0akMSfPCMrswivvApFs68fPOdzb69ZFrGUW3ll7FscYqSUx-aYW3CyA0Rl7C8jEJR3lPuXTmRoM-rH3Ugb4AJAlNQevbkWHbb6hhcYdNHReyS1_iRV3xjv91SbU5Anvxs3tcmgA/s320/1000032169.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiFyocUSOvgXMrrh6nI4P1hkE3alu4EyMpOOm91KOhuaDaKuAF_-V5w0sW9BI76o8qRk4ZuckswRitejoQ2cY96WjooDKUTIHfTJ0xlPnjdhl3x4vfFccxsmk8cyv42Cy2HcnP1QBe7LF8nUmaN6bBhXfr9t_MaD7MG5kJhdWvUxIuYsSQBBam0QH-5L-c/s320/1000032166.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhRIBpWg-TR1fAkp6a1_MmO_bpmvtWBIdqN0Pamz57TBYO0fMVjEvap7EYD9K4RfZXZFhvEJ5FQ_7fSa8VXhpP5EqjTeRnGtC5HqnXSZDvVEhpGJzEh-T8oOi0y9TXIiSWwW_lJt2oHUYbVEVG_6JWVgNNX8ZrQoWanLrczuVgagsTAS9FotKuMcmYx_qA/s320/1000032165.jpg)
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าพังงา อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา นายสุชาติ เกตุแก่น ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) พร้อมด้วยนายสุวัฒน์ สุขศิริ หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าพังงา ได้ดำเนินการขนย้ายแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย จำนวน 6 ตัว ซึ่งได้อพยพหนีหนาวมายังพื้นที่จังหวัดสตูล กระบี่ นครศรีธรรมราช และภูเก็ต ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีอายุเฉลี่ย 3 ปี ส่งไปยังสถานีเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เพื่อทำการดูแลรักษาและพักฟื้น ก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป
สำหรับแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย เป็นนกที่มีลักษณะเด่น คือ ขนสีน้ำตาลเข้มและมีขนาดใหญ่ ตัวเต็มวัยมีปีกกว้างประมาณ 2.5 เมตร มีพฤติกรรมกินซากสัตว์เป็นอาหาร และมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศในการช่วยทำลายซากสัตว์ แร้งสีน้ำตาลหิมาลัยมีการแพร่กระจายในทวีปเอเชียตอนกลาง อินเดียตอนเหนือ เนปาล ภูฏาน ทิเบตตอนใต้ และตอนเหนือ-ตะวันตกของประเทศจีน อาศัยอยู่ตามภูเขาสูงตั้งแต่ 600-4,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในฤดูหนาว นกบางส่วนจะบินอพยพไปหากินทางใต้ ได้แก่ประเทศเมียรมาร์ ไทย ไปจนถึงมลายูอินโดนีเซียและสิงคโปร์
ทั้งนี้ เนื่องจากแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยอาศัยอยู่ในที่สูงและพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเฉพาะเจาะจง การดูแล เฝ้าระวังและอนุรักษ์จึงมีความสำคัญในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ในธรรมชาติให้คงอยู่ต่อไป
Share this content: