![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEijm4ZSPttH9bkGfg29pW9oN3i5n0EPpkt4wdZ6jrM7zMmfXWYEbaPWL8E0UapwgKLgjDUGkZaGthSi2iwGksd-8Nl1qMjSgvZWAFEOinhq76Y5VzwazeGRf1IoMnO9H6z1cPsWTqekieKo9OCTeztPZPPcj-3gFX38BA0Untg4IP3O0WhcLNRGurKmFt0/s320/1000011839.jpg)
นายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.ไทยแลนด์(FKII Thailand)ให้ความเห็นวันนี้หลังจาก
องค์กรเพื่อความ โปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) ได้เผยแพร่ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การ ทุจริต (Corruption Perceptions Index หรือ CPI) ประจำปี 2567 จากจำนวนประเทศ 180 ประเทศ ทั่วโลกโดยประเทศไทย ได้ 34 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 107 ของโลกขยับจากอันดับ108แต่หล่นจากอันดับ4เป็นอันดับที่ 5 ของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งประเทศที่ได้คะแนนสูงสุดในกลุ่มอาเซียนคือประเทศสิงคโปร์ ได้ 84 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก ส่วน
อันดับ 1 ของโลกคือ ประเทศเดนมาร์ก ได้คะแนนสูงที่สุด 90 คะแนน อันดับ 2 คือประเทศฟินแลนด์ ได้ 88 คะแนน ประธานสถาบันเอฟเคไอไอ.กล่าวว่า สถานการณ์ปัญหาคอรัปชั่นในประเทศไทยยังโคม่าน่าวิตก แม้มีอันดับดีขึ้น1อันดับเทียบกับปี2566ที่อยู่ในอันดับ108 แต่ในกลุ่มประเทศอาเซียนอันดับตกจากที่4มาเป็นที่5ทั้งนี้เป็นผลจากประเทศไทยได้คะแนน34คะแนนในปี2567 ถือเป็นคะแนนต่ำสุดในรอบ 13ปี(ปี2555-2567)และคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของโลกมาโดยตลอดหากพิจารณาย้อนไป10ปีจะพบว่า การแก้ปัญหาคอรัปชั่นไม่กระเตื้องขึ้นมีแต่ถดถอยลง
นายอลงกรณ์ อดีตผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มCorruption Watch กล่าวต่อไปว่า
ดัชนีรับรู้การทุจริตตั้งแต่ปี 2555 ถึงปี2567พบว่าคะแนนลดลงต่อเนื่อง และอันดับโลกก็เริ่มขยับมากขึ้นสะท้อนความโปร่งใสและธรรมาภิบาลลดลง
กล่าวคือ
ในปี2555ได้คะแนน37อันดับ88ของโลก
ปี2556 ได้คะแนน 35 อันดับ 102 ปี2557 ได้คะแนน 38 อันดับ 85
ปี2558 ได้คะแนน 38 อันดับ 76
ปี2559 ได้คะแนน 35 อันดับ 101
ปี2560 ได้คะแนน 37 อันดับ 96
ปี2561 ได้คะแนน 36 อันดับ 99
ปี2562 ได้คะแนน 36 อันดับ 101
ปี2563 ได้คะแนน 36 อันดับ 104
ปี2564 ได้คะแนน 35 อันดับ 110
ปี2565 ได้คะแนน 36 อันดับ 101
ปี2566 ได้คะแนน 35 อันดับ 108
ปี2567 ได้คะแนน 34 อันดับ 107
“ผลการสำรวจดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทยในปี 2567 เป็นการประเมินจากแหล่งข้อมูล 9 แหล่งได้แก่IMD WEF BF(TI) PRS V-DEM
PERC WJC EIC
โดยตัวชี้วัดจากฐานข้อมูล9ฐานประกอบด้วย
1.เจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางมิชอบ
2.มีอำนาจ หรือตำแหน่งทางการเมือง มีการทุจริตโดยใช้ระบบอุปถัมภ์ และระบบเครือญาติ และภาคการเมืองกับภาคธุรกิจ มีความสัมพันธ์กัน
3.การทุจริตในภาครัฐ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และตุลาการเกี่ยวกับสินบน การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับส่วนรวม
4.การติดสินบนและการทุจริต
5.ภาคธุรกิจต้องจ่ายเงินสินบนในกระบวนการต่าง ๆ
6.ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
7.ระดับการรับรู้ว่าการทุจริตเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสถาบันทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
นายอลงกรณ์ อดีตดาวเด่นแห่งปีของรัฐสภาจากผลงานการปราบปรามคอรัปชั่นในระหว่างการทำหน้าที่ประธานคณะทำงานตรวจสอบทุจริตของพรรคร่วมฝ่ายค้านและพรรคประชาธิปัตย์ในอดีตกล่าวสรุปในท้ายที่สุดว่า
“การป้องกันและปราบปรามการทุจริตฉ้อราษฎรบังหลวงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกัน ทุกภาคส่วนจึงต้องผนึกความร่วมมือในการแก้ไขอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะ7โจทย์ใหญ่ที่เป็นตัวชี้วัดขององค์กรเพื่อความ โปร่งใสนานาชาติ (Transparency International หรือ TI) ซึ่งในส่วนของเอฟเคไอไอ.กำลังพัฒนาคอรัปชั่นเทคเป็นแนวทางใหม่ในการขจัดทุจริตด้วยแพลตฟอร์มดิจิตอลเทคโนโลยีเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐภาคเอกชนและเครือข่ายภาคประชาชนภายใต้โครงการใยแมงมุม(The Spider Project)”
Share this content: