







วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ บริเวณผาชมหมอก บ้านดงต้อง ตำบลผาตั้ง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคายนายสมภพ สมิตะสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการทำแนวกันไฟป่าเพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ประจำปี 2568 โดยมีนายพิบูลย์ โชตเศรษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดหนองคาย,นายนวน โทบุตร นายอำเภอสังคม,นายนฤพนธ์ ภาโนชิต หัวหน้าสำนักงานจังหวัดหนองคาย หัวหน้าส่วนราชการ ครู นักเรียน นักศึกษา ประชาชน เข้าร่วมกิจกรรม
การจัดโครงการครั้งนี้เพื่อจัดทำแนวกันไฟป่าในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ประจำปี 2568 เพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรมีความรู้ในการป้องกันไฟป่าและหมอกควัน โดยวิทยากรจากสถานีควบคุมไฟป่าหนองคาย บรรยายให้ความรู้ และร่วมกันทำแนวกันไฟป่า
ปัจจุบันปัญหาไฟป่าและหมอกควันเป็นปัญหาต่อพื้นที่เป็นอย่างมาก การทำแนวกันไฟจึงมีความสำคัญเป็นการตัดช่วงความต่อเนื่องของเชื้อเพลิง ป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามเข้าไปในพื้นที่ที่จะคุ้มครอง หรือป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามออกมาจากพื้นที่ที่กำหนด มีความแตกต่างกับแนวดับไฟ ตรงที่แนวกันไฟจะทำเอาไว้ล่วงหน้าก่อนการเกิดไฟป่า ส่วนแนวดับไฟจะทำในขณะที่กำลังเกิดไฟไหม้ และทำขึ้นเพื่อการดับไฟทางอ้อม หรือเพื่อการดับไฟด้วยไฟ คือต้นไม้ 1 ต้น สามารถผลิตออกซิเจนได้ถึง 250,000 ลิตร/ปี หรือเท่ากับความต้องการออกซิเจนของมนุษย์ถึง 2 คน ต้นไม้ 1 ต้น สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ถึง 1 – 1.7 ตันในช่วงอายุขัยของต้นไม้ ต้นไม้ 1 ต้น สามารถดักจับอนุภาคของมลพิษ เช่น ฝุ่น ควัน ได้ถึง 1.4 กิโลกรัม/ปี
ปัจจุบัน เกิดไฟป่าอยู่บ่อยครั้งทั้งเกิดเองและจากฝีมือของมนุษย์เผา และยังเป็นสาเหตุหนึ่งของฝุ่น PM2.5 ที่เป็นปัญหาใหญ่ โดยไฟป่าที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งสร้างความสูญเสียหลายร้อยไร่ แม้เราจะเร่งรณรงค์ปลูกต้นไม้เพื่อทดแทน ต้นไม้ 1 ต้นก็ใช้เวลากว่าจะเติบโต และเมื่อเกิดไฟป่าอีก เราก็ต้องเริ่มต้นใหม่ แต่ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้เราลดการสูญเสียต้นไม้ได้
โดยที่แนวกันไฟ เพื่อยับยั้งไฟป่า และเป็นแนวตั้งรับในการดับไฟป่า แนวกันไฟจะสกัดเพลิงที่เกิดขึ้นจากพื้นที่ด้านหนึ่งไม่ให้ลุกลามไปอีกฟากหนึ่ง จะช่วยลดความรุนแรงที่เกิดขึ้น:ฤาษีลภ /ภาพ-ข่าว สนง. จว.หนองคาย
Share this content: