
.








ลงพื้นที่ มอบสมุดประจำตัวผู้ได้รับการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชน ให้อยู่อาศัยทำกินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ณ วิทยาลัยสงฆ์น่านนคร อ.ภูเพียง จ.น่าน พร้อมคณะผู้บริหาร
.
ก.ทรัพยากรฯ เล็งเห็นปัญหาของพี่น้องประชาชน จึงให้หน่วยงานเร่งดำเนินการ บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน แก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของประชาชนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติทั่วประเทศโดยเร็วที่สุด เพื่อสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกินให้กับประชาชน ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
.
โดยกรมป่าไม้ ได้อนุมัติพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 จำนวน 15 อำเภอ ในจังหวัดน่าน เนื้อที่ 968,344 ไร่ ราษฎร 46,558 ราย และมีตัวแทนมารับมอบสมุดประจำตัว 1,000 ราย นอกจากพี่น้องประชาชนจะได้อยู่อาศัยทำกินได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว หน่วยงานต่างๆ ก็สามารถเข้าไปพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานได้ พี่น้องประชาชนจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
.
จังหวัดน่านในอดีต จนกระทั่งปี พ.ศ. 2561 มีพื้นที่ป่าลดลงทุกปี โดยมีคำสั่งเรื่อง “การบริหารพื้นที่รูปแบบพิเศษเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” หรือ “โครงการน่านแซนด์บอกซ์”
.
คณะกรรมการน่านแซนด์บอกซ์ ได้สนับสนุนการสำรวจแปลงที่ดินของราษฎรที่ทำกินในเขตป่าทั้งจังหวัดน่าน นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนจัดทำโปรแกรมพิมพ์สมุดประจำตัวมอบให้กรมป่าไม้ เพื่อจัดทำสมุดประจำตัวให้ราษฎรทั้งประเทศ
.
โดยมีราษฎรถือครองทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 150,340 ราย เนื้อที่ 1,559,320 ไร่ ซึ่งจะเร่งรัดจัดทำสมุดประจำตัวมอบให้แก่ราษฎรทุกราย ทั้งนี้กรมป่าไม้ได้จัดทำระบบ “สมุดประจำตัวดิจิทัล” ในระหว่างรอเล่มสมุดประจำตัวสามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อ และแสดงสมุดประจำตัวผ่านโทรศัพท์มือถือได้
.
นอกจากนี้ กรมป่าไม้ได้อนุมัติโครงการพัฒนาสาธารณูปโภค มีการปรับปรุงถนน 28 โครงการ พัฒนาระบบไฟฟ้า 4 โครงการ และพัฒนาแหล่งน้ำ 11 โครงการ
.
และเข้าไปสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาอาชีพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่ราษฎร ทำการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน โครงการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ตามพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายใต้แนวทาง “ทำให้ ทำร่วม ทำเอง”
“ทำให้” คือการทำแปลงสาธิตตัวอย่างให้ราษฎรได้ศึกษาเรียนรู้
“ทำร่วม” มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับราษฎร
“ทำเอง” คือการขยายผลให้ราษฎรสามารถทำได้ด้วยตนเอง
.
จังหวัดน่านถือเป็นแบบอย่างการทำงานแบบบูรณาการของทุกภาคส่วนเพื่อแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ มีการส่งเสริมพัฒนาอาชีพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งจะช่วยป้องกันอุทกภัยดินโคลนถล่มได้ในอนาคต ราษฎรมีอาชีพที่มั่นคงสามารถอยู่ร่วมกันกับป่าได้อย่างยั่งยืน
วันชัย-ทีมข่าวประจวบฯ | กระทรวงทรัพยากรฯ
Share this content: