







วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 (เวลา 16.00 น.)
นายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดหวัดอุตรดิตถ์ำร้อมด้วยนายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ ผู้อำนวยการวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่โรงเรียนบ้านข่อยสูง ตำบลข่อยสูง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ เพื่อเยี่ยมชม ติดตามผลงานเครื่องประดับไทยจากใบอ้อย หลังจากครู นักเรียนโรงเรียนดังกล่าว คิดค้นและประดิษฐ์เครื่องประดับไทยที่ใช้สำหรับชุดการแสดงนาฏศิลป์ไทย ใช้งานได้จริง ประหยัดงบประมาณในการเช่า สร้างรายได้ระหว่างเรียน เพื่อให้เด็กๆรุ่นใหม่ได้สืบสานงานศิลป์ที่เป็นมรดกของชาติ ที่สำคัญใช้วัตถุดิบที่มีเป็นจำนวนมากในชุมชน จนเกิดเป็นวัฒนธรรม Soft Power ตามนโยบายของทางรัฐบาล อีกทั้งเป็นการลดการเผาอ้อย หนึ่งสาเหตุที่ก่อให้เกิด PM 2.5 เกินมาตรฐาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ชมขั้นตอนการประดิษฐ์เครื่องประดับไทยจากใบอ้อย แต่ละขั้นตอนนักเรียนต่างมีความรู้ความชำนาญ ทั้งหมด 4 ขั้นตอน ทำการลอกลายแบบเครื่องประดับที่ต้องการ ใช้เลื่อยฉลุตัดและดามแบบด้วยลวดเพื่อให้ชิ้นงานแข็งแรง งอได้ตามรูปทรงที่ต้องการ ส่วนของใบอ้อยตากแห้ง ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ตำด้วยครกให้ละเอียด เพื่อเป็นหนึ่งในส่วนผสมทำดินกดลาย ด้วยการต้มแป้งข้าวเจ้าผสมน้ำสะอาด เมื่อจับตัวเป็นก้อน นำมานวดผสม ผงแคลเซียม ปูนยาแนว ทิชชู และใบอ้อยตำละเอียด (ตามสัดส่วนที่คำนวณอย่างลงตัวแล้ว) นำดินที่ได้จากผสม กดลงไปในแม่พิมพ์ตามลวดลายที่ต้องการ ติดลงแบบลายฉลุ ตากแดดให้แห้ง จากนั้นลงสีน้ำมัน ปิดทองคำเปลว และประดับตกแต่งให้สวยงาม ก็เป็นอันเสร็จ 1 ชิ้น ที่นักเรียนลงมือทำจริง นักเรียนได้จัดโชว์ผลงานเครื่องประดับไทยจากใบอ้อย มากกว่า 100 ชิ้น ที่สดสดงดงามตระการ
ในขณะที่เด็กๆนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 กล่าวว่า เป็นความภาคภูใจของเด็กๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งลดการเผา และยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ สร้างรายได้ สืบสานความเป็นไทย
นายวุฒิพงษ์ ปิ่นนาค ผอ.โรงเรียนบ้านข่อยสูง กล่าวว่า เป็นโครงงานอาชีพ ช่วงคาบเรียนชุมนุม และ ช่วงคาบเรียนลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ เด็กเกิดทักษะ นำของที่ไม่มีค่ามาสร้างมูลค่า เด็กและครูภูมิใจเป็นส่วนหนึ่งลด PM 2.5 อย่างไรก็ตาม ครู นักเรียนต่างยังร่วมกันคิดต่อยอด พัฒนาผลงานแต่ละชิ้นต่อไป และพร้อมรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ โดยเครื่องประดับไทยจากใบอ้อย โรงเรียนเปิดเช่า และ รับสั่งทำตามแบบที่ต้องการ เพื่อต่อยอด เป็นรายได้ระหว่างเรียนให้เด็กๆ เริ่มต้นที่ราคา 100 บาท ตามความยากง่าย และ ขนาดของชิ้นงาน โดยสอบถามผ่าน เพจ โรงเรียนบ้านข่อยสูง
ผู้ว่าฯจ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า จ.อุตรดิตถ์มีพื้นที่ปลูกอ้อยกว่า 6หมื่นไร่ ผลผลิตกว่า 7 แสนตัน สร้างรายได้กว่า 1000 ล้านบาท/ปี จากนโยบายรัฐบาลลดการเผา พบ 1 เปอร์เซ็นต์ที่พบการเผาอ้อย และที่จังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุนและเป็นต้นแบบ คือ การประดิษฐ์เครื่องประดับไทยจากใบอ้อย ของโรงเรียนบ้านข่อยสูง ที่สวยสดงดงาม ใช้ประโยชน์ได้จริง โดยจะประสาน ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ และอุตสาหกรรมจังหวัด ช่วยพัฒนาต่อยอด คุณภาพสินค้า การใช้สี ลวดลาย ความคงทน และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการประดิษฐ์
นาคา คะเลิศรัมย์/รายงาน
Share this content: