



‘สสจ.นครพนม’ เปิดเวทีเรียนรู้
ขับเคลื่อน-ติดตามผลงาน ‘โรงเรียนผู้พิทักษ์ฟันดี’
วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.09 น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม โดยกลุ่มงานทันตสาธารณสุข จัดประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามการดำเนินงานโรงเรียนผู้พิทักษ์ฟันดี จังหวัดนครพนม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยทันตแพทย์หญิงวิภารัตน์ วรหาร ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม (ด้านทันตกรรม) เป็นประธานเปิดการประชุมฯ ณ ห้องประชุมเทพวรมุนี ศูนย์ประชุมสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
ทันตแพทย์หญิงวิภารัตน์ วรหาร ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม (ด้านทันตกรรม) กล่าวว่า ปัญหาฟันผุในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา ยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในเขตสุขภาพที่ 8 ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดนครพนมและจังหวัดใกล้เคียง พบว่าอัตราการเกิดฟันผุยังคงสูง สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาลสูง การละเลยการดูแลสุขภาพช่องปาก และการขาดความตระหนักรู้เกี่ยวกับการดูแลฟันที่ถูกต้อง “โครงการโรงเรียนผู้พิทักษ์ฟันดี” จึงถูกพัฒนาให้เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่จะช่วยลดปัญหานี้ โดยเน้นแนวทางการดำเนินงานที่ครบวงจร ผ่านการบูรณาการในระดับ UP – Mid – Down Stream เพื่อให้ทุกโรงเรียนสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นระบบบและมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ (สพฐ.) และกระทรวงสาธารณสุข โดยทั้งสองหน่วยงานได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ
“การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และวิเคราะห์ปัจจัยต่อความสำเร็จหรืออุปสรรคของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหาที่พบในพื้นพื้นที่ รวมทั้งเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และแนวทางปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียน และในการการดำเนินงานของโครงการ "โรงเรียนผู้พิทักษ์ฟันดี" ที่ผ่านมามีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมการแปรงฟันที่ดีขึ้น มีการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์อย่างเพิ่มขึ้น และโรงเรียนหลายแห่งได้มีมาตรการควบคุมการจำหน่ายขนมหวานและน้ำอัดลม อย่างไรก็ตามยังคงมีความท้าทายในบางพื้นที่ ที่ต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติม เช่น การเพิ่มอัตราการตรวจสุขภาพฟันประจำปี การให้ฟลออไรด์วานิชอย่างต่อเนื่อง และการให้บริการทันตกรรม” ทันตแพทย์หญิงวิภารัตน์ วรหาร ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม (ด้านทันตกรรม) กล่าว/////////สุเทพ หันจร้ส/นครพนม/รายงาน
Share this content: