คมชัด AEC TV Online : :

รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ สร้างสรรค์สังคม

P*”ดร.มหานิยม”เผยกรมศิลป์แจ้งพศ.ผลการสำรวจองค์พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์*

P*”ดร.มหานิยม”เผยกรมศิลป์แจ้งพศ.ผลการสำรวจองค์พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์*

“ดร.นิยม เวชกามา” หรือ “ดร.มหานิยม” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล) เปิดเผยว่า “นายพนมบุตร จันทรโชติ” อธิบดีกรมศิลปากร ได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อเรียนต่อ “รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล” รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รายงานผลการสำรวจองค์พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ เกี่ยวกับโลหะสัมฤทธิ์ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง

โดยเรียนว่าตามที่กรมศิลปากร ได้มอบสำนักช่างสิบหมู่ โดย “นายภราดร เชิดชู” ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านประติมากรรม พร้อม “นายประสงค์ คงอ้น” “นายสง่า จันทร์ตา” นายช่างหล่ออาวุโส พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เข้าดำเนินการสำรวจองค์พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์
และ “ดร.นิยม เวชกามา” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นพื้นที่ติดตาม ผลการสำรวจองค์พระประธานพุทธมณฑล และมอบหมายให้ประสานรายละเอียดงบประมาณ วิธีการในการดูแล
ทำความสะอาด เพื่อประกอบในการจัดหางบประมาณดังกล่าว

ทั้งนี้ จากการรายงานผลการสำรวจองค์พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์
ประดิษฐาน ณ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา กลุ่มงานเทคโนโลยีการหล่อและกลุ่มประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้สำรวจพระพุทธรูปดังกล่าว ผลปรากฏว่า สภาพโดยรวมของพระพุทธรูปยังคงสมบูรณ์ ไม่ได้เกิดการแตกหักหรือสูญหายส่วนใด จะมีเพียงคราบฝุ่นละอองและคราบมูลของสัตว์ปีกอยู่บ้าง ที่ทำให้ดูแล้วไม่ค่อยสะอาดมากนัก ส่วนสภาพสีผิวโลหะโดยรวม เนื่องจากพระพุทธรูปดังกล่าวได้มีการประดิษฐานตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 จึงเริ่มเกิดคราบสนิมเขียวประมาณ 60 % ทั่วทั้งรูป ซึ่งสนิมเขียวดังกล่าวล้วนเกิดขึ้นตามขั้นตอนธรรมชาติของวัสดุตระกูลทองแดง เพราะตัวอย่างงานโลหะประเภทนี้ที่ต่างประเทศก็มักเกิดขึ้นเอง เช่นเดียวกัน อาทิ รูปเทพีสันติภาพ และอื่นๆ จึงเป็นความงดงามที่เกิดขึ้นเองจากวัสดุ
อนึ่ง สนิมเขียวดังกล่าวมิได้ทำให้เกิดการกัดกร่อนเชิงโครงสร้างแต่อย่างใด จากสภาพพระพุทธรูปดังกล่าว ณ ปัจจุบัน ทางผู้สำรวจเห็นว่า พระพุทธรูปมีความงดงามเป็นอย่างมากด้วยความที่เป็นสีสนิมเขียวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของวัสดุโลหะสัมฤทธิ์ คือ สำริด (Bronze) เป็นโลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงและดีบุก บางครั้งเรียกว่า ทองสัมฤทธ์ หรือ ทองบรอนซ์ สำริด (เป็นคำโบราณปัจจุบันในความหมายเดียวกันเขียนได้อีกแบบหนึ่งเป็น สัมฤทธิ์) โดยทั่วไปแล้ว สำริดทางโบราณคดี หมายถึงโลหะผสม (Alloy) ที่มีทองแดงและดีบุกเป็นองค์ประกอบหลัก ในอัตราส่วนที่ทองแดงมากกว่าหลายเท่าตัว โดยดีบุกนั้นถูกผสมลงไปราว 1 – 2 % ขึ้นไปแล้วใช้ความร้อนสูงราว 12,000 องศาเซลเซียส หลอมแร่สองชนิดนี้เข้าด้วยกัน
“ในการนี้โลหะสำริดที่ใช้ในการสร้างองค์พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ประกอบไปด้วยธาตุหลักคือทองแดง และธาตุอื่นๆ ซึ่งโดยธรรมชาติของทองแดงนั้นเป็นโลหะที่จัดอยู่ในกลุ่มโลหะที่ต้านทานการกัดกร่อนได้ดี จึงเป็นเหตุผลให้นำมาหล่อเป็นเนื้อโลหะหลักในการจัดสร้างพระพุทธรูปดังกล่าว และความสำคัญอีกประการคือสนิมของทองแดงเมื่อผ่านกาลเวลาและอุณหภูมิ สภาพแวดล้อมตามระยะเวลาอันเหมาะสม สภาพของสนิมทองแดงก็มักจะเป็นสีเขียวสวยงามตามธรรมชาติของวัสดุ โดยสนิมดังกล่าว
มิได้ทำให้เกิดการกัดกร่อนไปถึงโครงสร้างแต่อย่างใด ต่างกับสนิมของโลหะจำพวกเหล็ก ซึ่งถ้ามีสนิมเกิดขึ้นจากเหล็กแสดงว่าในโครงสร้างของโลหะถูกกัดกร่อน ส่วนทองแดงนั้นเป็นโลหะที่ต้านทานการกัดกร่อนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นสนิมเขียวที่แสดงออกมาบนพื้นผิวโลหะล้วนไม่มีผลใด ๆ กับโครงสร้าง กลับกลายเป็นความงามที่บ่งชี้ให้เห็นถึงชั้นปีและอายุของวัสดุที่ประดิษฐานมาอย่างยาวนาน”

ในรายงานได้แจงถึงรายละเอียดงบประมาณ วิธีการ ในการดูแลล้างขัดทำความสะอาด วิธีการดูแลมีทั้งหมด 3 วิธีการ คือ
1.ล้างทำความสะอาดทั่วไป
ซึ่งวิธีการดังกล่าวสามารถทำได้โดยการใช้สารชักล้างทั่วไป ชโลมให้ทั่วแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด จากนั้นเอาผ้าเช็ดให้สะอาดเพื่อปราศจากคราบฝุ่นละอองและคราบมูลของสัตว์ปีก โดยวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่ไม่กระทบโครงสร้างของโลหะ และยังเป็นวิธีการที่คงสีสนิมเขียวของโลหะได้ดีอีกด้วย ส่วนระยะเวลาในการ ดำเนินการนั้นไม่เกิน 3 วัน ค่าใช้จ่ายไม่เกิน 1 หมื่นบาท (ไม่เกี่ยวกับค่าจัดตั้งร้าน)
2.รมดำแบบกรมศิลปากร
วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ กรมศิลปากร ใช้รมสีรูปหล่อโลหะ อนุสาวรีย์ต่าง ๆ โดยจะใช้เคมี ชนิด คือ Potassium sunphide และ Ferric Chloride โดยจะทาสลับเคมี 2 ชนิดนี้ลงบนพื้นผิวโลหะ จนกว่าสีผิวโลหะ
จะเข้มขึ้น แล้วใช้แปรงลวดทองเหลืองแบบขนอ่อน ชัดปรับสีผิวให้ทั่ว จากนั้น ทำการเคลือบผิวด้วยแว็กซ์สีน้ำตาลแล้วขัดด้วยผ้าดิบเพื่อให้เกิดความมันวาว ก็จะได้สีน้ำตาลอมแดงหรือเรียกว่า สีเม็ดมะขามสุก โดยวิธีการนี้จะไม่กระทบการกัดกร่อนไปที่โครงสร้างของโลหะ เพราะไม่ได้ใช้ความร้อนสูง แต่จะไปทำให้ชะลอการสีสนิมเขียวของโลหะเพราะโลหะจะถูกเคลือบด้วยเคมีและแว๊กซ์ ในส่วนระยะเวลาดำเนินการ 10 – 15 วัน ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 100,000 – 250,000 บาท (ไม่เกี่ยวกับค่าจัดตั้งนั่งร้าน)
3.รมสีแบบพาติน่า (Patina)
วิธีการนี้เป็นวิธีการทำเฉดสีบนพื้นผิวโลหะในงานประติมากรรมในระดับสากล โดยใช้สนิมเทียมของทองแดงคือ Copper Ntrate ผสมกับ Pigment ต่างๆ ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายเฉดสี เช่น สีเขียว สีแดง และอื่น ๆ ตามที่ต้องการ โดยทำการผสมเคมีกับน้ำสะอาดและใช้ความร้อนเป่าบนพื้นผิวโลหะราว 80 -120 องศาเซลเซียส แล้วนำเคมี
ที่ผสมน้ำไว้ไปทาเคลือบ จากนั้นเมื่อได้สีที่ต้องการ จะทำการเคลือบผิวด้วยแว็กซ์ แล้วขัดด้วยผ้าหรือแปรงขนอ่อนเพื่อให้เกิดความเงางาม โดยวิธีการนี้จะเริ่มส่งผลกระทบกับโครงสร้างของโลหะ เพราะในกระบวนการทำงาน
ต้องใช้ความร้อนที่สูงกว่าปกติ จึงอาจทำให้เกิดการแตกลั่นของผิวโลหะได้ และวิธีการดังกล่าวหากผลงาน
อยู่กลางแจ้งนาน ๆ จะทำให้เกิดการลอกของเคมี และยังไปชะลอการเกิดสนิมเขียวอีกด้วย เพราะถูกทั้งความร้อนและเคมีเข้าไปบนพื้นผิวโลหะ ส่วนระยะเวลาในการดำเนินการราว 15 – 20 วัน ค่าใช้จ่ายประมาณ 350,000 – 500,000 บาท (ไม่เกี่ยวกับค่าจัดตั้งนั่งร้าน)

อธิบดีกรมศิลปากร แจ้งต่อว่า ตามความเห็นของกลุ่มประติมากรรมตามที่ได้ประชุมแล้วเห็นควรให้ใช้วิธีการแรกในการดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากใช้งบประมาณน้อย ไม่กระทบกับโครงสร้างของโลหะ
และยังคงความงดงามของสีสนิมเขียวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของวัสดุ
“นอกจากนี้ เอกสารรายละเอียดการบูรณะองค์พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ เมื่อปี พ.ศ.2549
เนื่องจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ไม่มีเอกสารรายละเอียด เพื่อบันทึกจดหมายเหตุในการบูรณะ
องค์พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ข้อมูลทางกลุ่มงานประติมากรรมทราบเพียงเมื่อมีการซ่อมแซมองค์พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ครั้งนั้น ทราบเพียง โรงหล่อ เอเชียไฟน์อาร์ท จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ//////ดร.นิยม เวชกามา…..kao kon e san…

Tags

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

About Author

รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ สร้างสรรค์สังคม

ขอต้อนรับสู่ คมชัด AEC TV Online ติดต่อโฆษณา 0804240877

Tags