กองร้อยทหารพรานที่ 3504 บูรณาการ 15 หน่วยงาน ตรวจสอบการลักลอบตัดไม้และแปรรูปไม้ ใน เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสามหมื่น พบไม้ประดู่ถูกโค่นล้มแปรรูปจำนวนมาก

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 กองร้อยทหารพรานที่ 3504 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 35 จัดกำลังพลจำนวน 1 ชุดปฏิบัติการ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานราชการจำนวน 15 หน่วยงาน ประกอบด้วย
1. คณะเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ อำนวยการโดยนายทรงศักดิ์ กิตติธากรณ์ ผู้อำนวยการป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า พร้อมด้วยนายวรกิจ โตจำเริญ ผู้อำนวยการส่วนป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า
2. หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ตก.2 (ขะเนจื้อ)
3. หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ตก.9 (แม่จะเรา)
4. หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ตก.10 (ท้องฟ้า)
5. หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ตก.13 (กูเตอร์โกล)
6. หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ตก.20 (แม่ต้าน)
7. หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ตก.12 (โป่งแดง)
8. คณะเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช โดยนายนฤพนธ์ ทิพย์มณฑา ผู้อำนวยการสำนักป้องกันปราบปรามและควบคุมไฟป่า พร้อมนายปรยุษณ์ ไวว่อง


9. ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 14 (ตาก), นายปัญญา ถนอมทรัพย์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์,เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น
10. เจ้าหน้าที่ตำรวจ กองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
11. เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษป่าไม้ตาก 2.
12. เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
13. เจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธแม่ระมาด จังหวัดตาก
14. กำนันตำบลสามหมื่น,ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ผู้ผู้ใหญ่บ้าน,ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

และ 15. กำนันตำบลแม่ตื่น ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน,ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน



จากแหล่งข่าวสืบทราบว่าบ้านห้วยพระเจ้าน้อย หมู่ 2 ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก มีกลุ่มขบวนการการลักลอบตัดไม้ประดู่ส่งขายให้กับนายทุนเพื่อขายไปยังต่างประเทศ หน่วย และชุดปฏิบัติการ ทั้ง 15 ชุด ได้บรณาการเข้าตรวจสอบในพื้นที่ดังกล่าวตามที่ข้อร้องเรียน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสามหมื่น พบมีการลักลอบตัดไม้ แปรรูปไม้โดยผิดกฎหมายแล้วนำมาซุกซ่อนไว้ตามบริเวณข้างทางเส้นทางการเกษตรของชาวบ้าน จึงได้ร่วมกันวางแผนและออกตรวจตามที่ได้รับแจ้งโดยได้เดินเท้าลาดตระเวนลัดเลาะไปตามเส้นทางการเกษตรตามที่ได้รับแจ้งขณะลาดตระเวนมาถึงบริเวณ พบร่องรอยการตัดไม้ประดู่ และไม้สัก ทั้งเก่า และใหม่ เป็นจำนวนมาก กระจายโดยรอบตามหุบเขา และสันเขา โดยรอบ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. บริเวณพิกัด MU ๖๓๖๔๙ ๙๐๒๖๘ พบไม้ประดู่ตัดเป็นท่อนแปรรูป และผ่าเป็นแผ่นอยู่ในร่องห้วย
2. บริเวณพิกัด MU ๖๓๘๐ ๙๐๓๗๒ พบไม้ประดู่ถูกโค่นเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100 – 110 เซนติเมตร และผ่าเป็นปอน
3. บริเวณพิกัด MU ๖๓๘๖๒ ๙๐๒๓๐ พบไม้ประดู่ถูกโค่น จำนวน 1 ต้น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 90 เซนติเมตร และร่องรอยของการผ่าไม้ เหลือแต่เศษไม้
4.บริเวณพิกัด MU ๖๑๗๐ ๔๑๘๙๑ พบไม้ประดู่จำนวน 6 แผ่น และไม้สักทองจำนวน 1 แผ่น ซุกซ่อนอยู่บริเวณห้วย (ผาลาด)

 

เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการตรวจยึดและชักลากไม้ของกลางไปเก็บไว้ที่หน่วยป้องกันรักษาป่า ที่ ตก. 18 และส่งมอบให้กับป่าไม้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ผลการปฏิบัติยังไม่สามารถทำการตรวจยึดและชักลากของกลางได้หมดภายในวันนี้ เนื่องจากพื้นที่ในการชักลากรถยนต์ไม่สามารถเข้าถึงต้องใช้ชุดเจ้าหน้าที่ในการขนย้าย รายละเอียดเพิ่มเติมจะรายงานให้ทราบต่อไป

 

You missed