บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด ดังไกล อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การสนับสนุนส่งเสริมศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 ณ บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด ดร.วิสูตร จิตสุทธิภากร ประธานกรรมการบริษัทยนต์ผลดี ดร.กานต์ จิตสุทธิภากร ผู้จัดการทั่วไป บริษัทยนต์ผลดี ผศ.ดร.สงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.ดร.ปติวัฒน์วัฒนชัย ผอ.อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การสนับสนุนส่งเสริมศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่าง อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย กับ บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด โดยมี พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิต อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายประสงค์ หล้าอ่อนรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ นายรังสรรค์ สบายเมือง นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย ทันตแพทย์สุพจน์ หวังปรีดาเลิศกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ และผู้มีเกียรติ ร่วมพิธี โดยมีวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงานร่วมกันทั้งสิ้น 5 ข้อ ดังนี้
1.ร่วมกันดำเนินงานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี UTO RF รวมถึงงานวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง แนวทางการดำเนินงานร่วมกัน ในปีนี้มีโครงการที่จะต่อยอดงานวิจัยการกำจัดแมลงและด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Uniform Thermal Distribution of Radio Frequency Techn ร่วมวิจัยพัฒนาระบบกำจัดแมลงและไข่แมลงด้วยเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการใช้งานเชิงพาณิชย์ของโรงสีข้าวขนาดใหญ่ ในการขยายกำลังการผลิตการจำกัดแมลงด้วยเทคโนโลยี UTD RF จากเดิม 1 ต้น/ชั่วโมง/ยูนิต เป็น 3-5 ตัน/ชั่วโมง/ยูนิต โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากแผ่นงานวิจัยร่วมกับภาคเอกชน (Collaborative Research) ผ่านอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ โดย สำนักงานปลัดกระทรวง อว. จำนวน 1.65 ล้านบาท ถ่ายทอดเทคโนโลยีเทคโนโลยีการพัฒนาเครื่องอบลดความชื้นแบบไหลต่อเนื่องด้วยคลื่นความถี่วิทยุและลมร้อนสำหรับข้าวเปลือกจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ต่อไป ต่อสัญญาอนุญาตใช้สิทธิเทคโนโลยีกำจัดแมลงและไข่แมลงด้วยเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุ เพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ต่ออีก 5 ปี
2. ร่วมกันถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการกำจัดแมลงและไข่แมลงในข้าวสารด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Uniform Thermal Distribution of Radio Frequency Technology) หรือ UTD RF และนวัตกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้แก่ผู้ประกอบการโรงสี วิสาหกิจชุมชน และผู้บริโภค แนวทางการคำเนินงานร่วมกัน โดยนี้มีแผนจะดำเนินการร่วมกัน โดยนำองค์ความรู้จากบุคลากร อาจารย์ นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานจากอุทยาน วิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ โดย สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษาฯ ในการพัฒนาทักษะ ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม UTD RF และหลักการ หรือเทคโนโลยีอื่นๆ ที่จำเป็นในการดำเนินงานโรงสีข้าวแก่ผู้ประกอบการโรงสี วิสาหกิจชุมชน โดยใช้พื้นที่ ทรัพยากร ของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว
เป็นสถานที่หลัก
3. ร่วมกันดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องทั้งจากแหล่งทุนภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนา อุตสาหกรรมข้าว รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่หน่วยงานทั้งสองเห็นสมควรร่วมกัน แนวทางการดำเนินงานร่วมกัน ร่วมกันออกแบบโครงการเพื่อดำเนินงานแก้ปัญหา และพัฒนา เกษตรกร ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมข้าวไทย โดยยื่นขอสนับสนุนงบประมาณจากแหล่งทุน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นต้น
4. ร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนและประชาสัมพันธ์เทคโนโลยี UTD RF ให้เป็นที่รับรู้แก่กลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง

5. ร่วมกันแลกเปลี่ยนการใช้ทรัพยากร บุคลากร เครื่องมือ ห้องปฏิบัติการ และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อใช้ดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี UTD RF รวมถึงโครงการอื่น ๆ ที่ดำเนินงานร่วมกันตามขอบเขตที่ทั้งสองฝ่ายสามารถทำได้

You missed