มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และเทศบาลตำบลเชียงกลาง จังหวัดน่าน


ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) การแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ด้านการ
พัฒนาเชิงพื้นที่ และจัดกิจกรรมบ่มเพาะนวัตกรชุมชนกระบวนจัดการเรียนรู้ควบคู่กับการฝึกปฏิบัติ
เพื่อสร้างทักษะนวัตกรถ่ายทอดนวัตกรรม สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างนวัตกรต้นแบบ
และนวัตกรมือใหม่ ขยายผลสู่การใช้งานพื้นที่
……………………………………………………………….
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย รศ.ดร.จิราพร กุลสาริน ผู้เชี่ยวชาญศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์
และ ผศ.น.สพ.ดร.สุวิทย์โชตินันท์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ นายสุรชัย
สุวรรณชัยรักษ์ นายกเทศมนตรีตำบลเชียงกลาง ลงนามพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
(MOU) การแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัย รวมถึงการ
เลี้ยงแมลง BSF ตลอดจนความร่วมมือด้านงานวิจัย บูรณาการวิชาการ ภูมิปัญญา และเทคโนโลยีอย่างสมดุล
แพร่กระจายถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ในวันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2567 ณ เทศบาล
ตำบลเชียงกลาง อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
รศ.ดร.จิราพร กุลสาริน เปิดเผยว่า จากการดำเนินงานโครงการวิจัยด้านแมลง BSF (Black Soldier
Fly) ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 จนถึงปัจจุบัน เริ่มจากความร่วมมือของงานวิจัยที่ผ่านมา
ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในการดำเนินโครงการ
“นวัตกรรมน้ำมันสกัดจากแมลงหนอน BSF เพื่อใช้เป็นสารสำคัญในเครื่องสำอาง” โดยศึกษาการใช้ประโยชน์
จากแมลง BSF ในหลากหลายด้านด้วยการบูรณาการงานวิจัยและความร่วมมือจากนักวิจัยหลากหลายส่วน
งานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีการจัดตั้งโรงเรือนเพาะเลี้ยงแมลงแบบ Smart สำหรับศึกษาปัจจัยและ
สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม พัฒนากระบวนการผลิต BSF และ
อาหารในการเลี้ยงที่เหมาะสมต่อคุณภาพน้ำมันสกัดที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ คณะทีม
วิจัย จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้ดำเนินโครงการ “นวัตกรรมระบบการจัดการอาหารส่วนเกินด้วยตัวอ่อน
แมลง BSF อาหารสัตว์โปรตีนสูง” เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงตัวอ่อนแมลง BSF ด้วยเศษ
อาหารเหลือทิ้งภายในมหาวิทยาลัย และทดสอบความปลอดภัยของการใช้แมลง BSF เพื่อผลิตเป็นอาหารสัตว์
โดยการนำร่องเพื่อต่อยอดงานวิจัยเดิมสู่การจัดการเศษอาหารส่วนเกินด้วยตัวอ่อนแมลง BSF ให้เกิดความเป็น
เลิศด้านอาหารสัตว์โปรตีนสูง และเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผศ.น.สพ.ดร.สุวิทย์ โชตินันท์ กล่าวเสริมว่า ทีมวิจัยจึงได้เล็งเห็น ศักยภาพในพื้นที่ของจังหวัดน่าน
สำหรับต่อยอดทุนทางสังคมที่มีอยู่ในจังหวัด บูรณาการร่วมกับงานวิจัยที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อ
ขับเคลื่อนนวัตกรรมการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยตัวอ่อนแมลง BSF ให้ขยายผลไปสู่ตำบลอื่นในจังหวัด โดย
ได้รับการอนุมัติโครงการและสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่
(บพท.) ในโครงการ เมืองน่านสะอาด: ระบบการจัดการผลพลอยได้จากการเกษตรและขยะเปียกในชุมชน
จังหวัดน่าน เพื่อสร้างโอกาสด้านอาชีพการเลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำและหนอนแมลง BSF นำร่องโดยโรง
กำจัดขยะอินทรีย์ต้นแบบระดับตำบล ให้สามารถลดปริมาณขยะอินทรีย์ในพื้นที่ ลดปัญหาพื้นที่ฝังกลบการเผา ศษขยะและผลพลอยได้ทางการเกษตรและการท่องเที่ยว สร้างนวัตกรชุมชนด้านการจัดการขยะ การเลี้ยง
แมลง และการผลิตอาหารสัตว์จากแมลง BSF ในพื้นที่ โดยขับเคลื่อนร่วมกับฟาร์มต้นแบบในการเลี้ยงแมลง
BSF พื้นที่เป้าหมาย จำนวน 10 ตำบล และผลักดันเป็นระบบการจัดการขยะในชุมชนจากนวัตกรรม และ
ขยายผลองค์ความรู้สู่การเป็นหลักสูตรเพื่อสังคม ไปปรับใช้ตามบริบทของพื้นที่ สอดรับกับการผลักดันของ
หน่วยงานในพื้นที่ สู่การเป็น “น่าน เมืองสะอาด” และเป็นต้นแบบของการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่สามารถประยุกต์
และส่งเสริมการดำเนินการได้ทั่วประเทศต่อไป และตอบรับนโยบาย BCG ของประเทศอีกด้วย
ด้าน นายสุรชัย สุวรรณชัยรักษ์ นายกเทศมนตรีตำบลเชียงกลาง กล่าวว่า การลงนามในบันทึก
ข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการขยะเหลือทิ้งด้วย BSF และ
กิจกรรมบ่มเพาะนวัตกรชุมชนเมืองน่านสะอาด: ระบบการจัดการผลพลอยได้จากการเกษตรและขยะเปียกใน
ชุมชนจังหวัดน่าน เพื่อสร้างโอกาสด้านอาชีพการเลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำและหนอนแมลงทหารเสือ โดย
ใช้องค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ถ่ายทอดสู่ชุมชน ซึ่งมีความคาดหวังให้เกิดการลดปริมาณขยะอินทรีย์
การลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 แก้ปัญหาการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรที่เกิดจากผลพลอย
ได้ทางการเกษตรภายในจังหวัดที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดการลดต้นทุนการกำจัดขยะอินทรีย์ ลดผลกระทบต่อ
สุขภาพของคนในชุมชน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงทำให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถสร้างรายได้
เพิ่มขึ้น จากการนำองค์ความรู้นวัตกรรมที่ได้รับไปต่อยอดสู่การสร้างและเข้าถึงโอกาสทางอาชีพ การลดต้นทุน
การผลิตปศุสัตว์ หน่วยงานในพื้นที่มีนวัตกรรมเทคโนโลยี รูปแบบ/ระบบการจัดการแบบมีส่วนร่วมของภาค
ส่วนที่เกี่ยวข้องในการกำจัดขยะอินทรีย์ที่สามารถแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ได้จริง ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ต้นแบบที่
สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแบบรอบด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สู่การ
เป็นชุมชนนวัตกรรม ที่พัฒนาอย่างยั่งยืน ตามโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG model) ของพื้นที่ ซึ่งเป็นการสาน
ต่อการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมระหว่าง ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ (Food Innovation and
Packaging Center, FIN) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับเทศบาลตำบลเชียงกลาง ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนด้าน
การวิจัย การแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัย รวมถึงการ
เลี้ยงแมลง BSF ตลอดจนความร่วมมือด้านงานวิจัย บูรณาการวิชาการ ภูมิปัญญา และเทคโนโลยีอย่างสมดุล
แพร่กระจายถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม และข้าพเจ้าหวังว่าจะเป็นแรงผลักดันที่จะช่วย
ขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาจังหวัดน่านเพื่อ “พลิกโฉมการพัฒนาเดินหน้า สร้างเมืองน่านเมืองแห่งความสุข
ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีสังคมร่มเย็น เศรษฐกิจได้รับการต่อยอดและสร้างมูลค่าอย่างสร้างสรรค์และเติบโต
อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
พร้อมกันนี้ยังได้จัดกิจกรรมบ่มเพาะนวัตกรชุมชนกระบวนจัดการเรียนรู้ควบคู่กับการฝึกปฏิบัติเพื่อ
สร้างทักษะนวัตกรถ่ายทอดนวัตกรรม สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างนวัตกรต้นแบบและนวัตกรมือใหม่
ขยายผลสู่การใช้งานพื้นที่ ที่ประกอบไปด้วย นวัตกรชุมชนเป้าหมาย คนในชุมชน อาจารย์หรือนักวิจัยของ
มหาวิทยาลัยในพื้นที่ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหรือนอกพื้นที่เป้าหมาย เพื่อสร้างนวัตกรชุมชนที่
สามารถถ่ายทอดนวัตกรรมด้านการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยแมลงทหารเสือ โดยใช้นวัตกรรมพร้อมใช้ด้านระบบ
จัดการขยะด้วยแมลง BSF ผ่านกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้จากทีมวิจัย ประกอบไปด้วย การวางระบบ
โรงเรือน การเพาะเลี้ยง การจัดการขยะอินทรีย์สำหรับเลี้ยง การจัดการของเสียหลังเลี้ยง การเก็บเกี่ยวตัวอ่อน
การนำตัวอ่อนไปผลิตอาหารสัตว์ ให้เป็นนวัตกรกลุ่มนำร่อง ที่สามารถถ่ายทอดและขยายผลต่อสู่ชุมชนอื่นได้ ขับเคลื่อนร่วมกับฟาร์มต้นแบบในการเลี้ยงแมลง BSF พื้นที่เป้าหมายในโครงการ จำนวน 10 ตำบล และ
สร้างนวัตกรชุมชน จำนวนไม่น้อยกว่า 50 ราย เพื่อให้นวัตกรต้นแบบและคณะอปท.ของจังหวัดน่าน ทั้ง 10
ตำบล ได้องค์ความรู้นวัตกรรมการเลี้ยงแมลงทหารเสือสำหรับนวัตกรชุมชนต้นแบบ ที่จะเป็น Coaching
team ปรับใช้เทคโนโลยีต้นแบบของการเลี้ยงแมลงทหารเสือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อจัดการขยะอินทรีย์
และการต่อยอดสู่การผลิตอาหารเลี้ยงไก่พื้นเมืองกับฟาร์มต้นแบบ และนำความรู้ที่ได้มาพัฒนา ต่อยอด และ
ปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดน่าน
ภาพข่าว ชาตรี ทำงาม/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

You missed