เด็กนครสวรรค์นิสิตจุฬาฯสร้างชื่อชนะเลิศวิทยานิพนธ์ระดับเอเซียพร้อมได้ทุนไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น

 

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 ทีมผู้สื่อข่าวได้รับข้อมูลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่ามีการประกวดวิทยานิพนธ์ในระดับเอเซีย โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ส่ง ผลงานของนายนวพล เนื่องจำนงค์และกลุ่มเพื่อน นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการสำรวจ


ทั้งนี้นิสิต คณะวิศวกรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกคน จะต้องทำ วิทยานิพนธ์หรือ project ก่อนจบการศึกษา หลังจากได้นำเสรองาน และส่งงานที่ สาขาการสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาการสำรวจ ได้ส่งผลงานนี้เข้าไปประกวดในระดับเอเชีย ปรากฏว่าได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 1 พร้อมได้ทุนการศึกษาจำนวน 30,000 บาท และ ได้ไปศึกษาดูงานและฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนกรกฎาคม 2567 นี้เป็นเวลา 1 เดือน

 

สำหรับนายนวพล เนื่องจำนงค์ ชื่อเล่น “กิมเล้ง” เป็นคนนครสวรรค์ บิดาเสียชีวิต ตั้งแต่เด็ก ส่วนมารดา ประกอบอาชีพเป็นพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล ได้รับการอุปการะดูแล จากคุณปู่ถวิล และคุณย่าบุญเอื้อเนื่องจำนงค์ เริ่มต้น การศึกษาที่ โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อจากนั้น สอบเข้าศึกษาต่อชั้นม 1 ที่โรงเรียนนครสวรรค์ โครงการ ดาวรุ่งมุ่งโอลิมปิก จนจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

 

สำหรับผลงานที่สร้างชื่อได้แก่ การเข้าแข่งขันจินตคณิต ชนะเลิศระดับประเทศได้ที่ 1 ได้รับถ้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯ. ในขณะเรียนที่โรงเรียนอนุบาลนคสวรรค์ เข้าแข่งขันคอมพิวเตอร์. งานศิลปหัตกรรมนักเรียน ครั้งที่ 66 ชนะเลิศที่ 1 ระดับประเทศ ในระหว่างเรียนที่โรงเรียนนครสวรรค์

 

หลังจากจบชั้น ม.6 นายนวพล เนื่องจำนงค์. สอบเข้าได้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์รายงานตัวแล้วลาออก. ต่อมาสอบใหม่ได้ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์.แต่ทาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีข้อแม้ต้องเรียนก่อน 1 ปี จึงจะได้เรียน สาขาคอมพิวเตอร์

จึงขอลาออก พอลาออกได้ 14 วัน ทาง ม.เกษตรศาสตร์เรียกตัว ให้เรียนสาขาคอมพิวเตอร์ช้างเผือก จึงเสียใจเสียใจเพราะลาออกก่อน. ต่อมาสอบใหม่อีก

ได้คณะวิศวกรรมศาสตร์

สาขาสำรวจ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะเรียนอยู่ชั้นปี 4

 

และวันที่ 14 มีนาคม 2567 นายนวพล. เนื่องจำนงค์ และเพี่อนอีกสามคนทำผลงานวิทยานิพนธ์ทาง

จุฬาลงกรณ์ฯ ส่งผลงานไปแข่งขันระดับเอเชียได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 1 ของเอเชีย ได้รับทุนการศึกษาจำนวน 30,000 บาทพร้อมได้ไปศึกษาดูงานและฝึกประสบการณ์ที่ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนกรกฎาคม 2567 เป็นเวลา 1 เดือน

 

จึงนับเป็นความภาคภูมิใจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย และจังหวัดนครสวรรค์ ที่คนนครสวรรค์สามารถสร้างชื่อให้กับ