ติดอาวุธเสริมปัญญาเกษตรกรเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่

สำนักงานเกษตรอำเภอปาย ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2567จัดขึ้นให้เกษตรกรในพื้นที่ได้เรียนรู้แนวการเกษตรผสมผสานโดยเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การดำเนินการของศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. คือสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสินค้าหลักและเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ การจัดงานวันเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่

เมื่อวันพุธที่ 20 มีนาคม 2567 สำนักงานเกษตรอำเภอปาย ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ปี 2567 ณ ศพก. เครือข่ายสวนเม่นหมอก หมู่ที่ 8 ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีนายเอนก ปันทะยม นายอำเภอปาย เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งมีส่วนราชการทั้งระดับจังหวัดและอำเภอร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ สำหรับกิจกรรมในวันนี้จัดขึ้นให้เกษตรกรในพื้นที่ได้เรียนรู้แนวการเกษตรผสมผสานโดยเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การดำเนินการของศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. คือสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสินค้าหลักและเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ การจัดงานวันเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ จึงนับเป็นการทำงานที่สำคัญให้ทุกหน่วยงานได้บูรณาการทำงานร่วมกัน มีเกษตรกรเป็นศูนย์กลาง ในการสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อวางแผนการผลิต เข้าถึงปัจจัยการผลิต และสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงก่อนเริ่มฤดูกาลผลิตใหม่ได้

นางสาวกชพรรณ แก้วปัญญา เกษตรอำเภอปาย กล่าวเพิ่มเติมว่า สวนเม่น หมอก เป็นสวนที่ทำกิจกรรมการเกษตรแบบผสมผสาน/เกษตรทฤษฎีใหม่ แบบไร่นาสวนผสม เป็น ศพก. เครือข่าย ที่เน้นเกษตรผสมผสาน สำหรับงานในวันนี้มีสถานีเรียนรู้เพื่อการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร จำนวน 4 สถานี คือ

สถานีเรียนรู้ที่ 1 การส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร เกษตรกรได้เรียนรู้เรื่องใช้เทคโนโลยีทางเหลือก การสาธิต และการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยไม่เผา เช่นการทำปุ๋ยหมัก การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า การไถกลบ การอัดฟางก้อนเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นต้น
สถานีเรียนรู้ที่ 2 การปรับปรุงบำรุงดินเกษตรกรได้เรียนรู้เรื่องการจัดการพื้นที่เกษตร โดยการจัดการดินและปุ๋ยอย่างเหมาะสมตามค่าวิเคราะห์ดิน รวมไปถึงการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร นำมาทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ พืชปุ๋ยสดและน้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น
สถานีเรียนรู้ที่ 3 การลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรได้เรียนรู้ถึงแนวทางเพื่อลดต้นทุนการผลิต และการสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิตพืชเกษตร
สถานีเรียนรู้ที่ 4 การใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรโดรนเกษตรกรได้เรียนรู้เรื่องการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมการเกษตรยุคใหม่ มาประยุกต์ใช้กับการเกษตร เพื่อแก้ปัญหาแรงงานคนในภาคเกษตร ด้วยการใช้โดรนเพื่อการเกษตรจะเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน ช่วยคุมต้นทุนในการผลิต

นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการและการให้บริการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานอื่นๆ การออกร้านขายสินค้าทางการเกษตรจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน Smart Farmer / Young Smart Farmer กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และกลุ่มเกษตรอินทรีย์ SDGsPGS แม่ฮ่องสอน
———————————
ทศพล / แม่ฮ่องสอน

You missed