ศรีสะเกษ รพ.ศรีสะเกษ kick off one provider one patient หวังขจัดปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยและญาติ และเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานเพื่อให้คนทำงานยังอยู่ในระบบได้

เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณด้านหน้าอาคารผู้ป่วยนอก รพ.ศรีสะเกษ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ นพ.นพพล บัวสี รอง ผอ.รพ.ฝ่ายการแพทย์ คนที่ 1 ได้เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ kick off one provider one patient ทำความดีแล้วมีความสุข เจอคนทำความแล้วส่งเสริมเพิ่มความสุข ร่วมบันทึกกิจกรรมความดี Care D+Book หรือสมุดบันทึกความดี ซึ่งก่อนที่จะมีการเปิดโครงการนี้ นพ.นพพล ได้นำคณะผู้บริหาร แพทย์ พยาบาล ร่วมกันเต้นรำเพลง ดูแลด้วยใจ Care D+ โดยหลังจากพิธีเปิดโครงการแล้ว ได้มีการมอบเสื้อ เข็ม สมุด Care D+ ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ผ่านการอบรมโครงการ Care D+ รุ่นที่ 1 โดยมี ร.ต.ท.หญิงกัลยาณี วรรณภาสนี รอง ผอ.ฝ่ายกิจการพิเศษ คณะแพทย์ พยาบาล มาร่วมในพิธีจำนวนมาก

นพ.นพพล บัวสี รอง ผอ.รพ.ฝ่ายการแพทย์ คนที่ 1 กล่าวว่า นโยบายกระทรวงสาธารณสุข จัดให้มีโครงการแคร์ ดีพลัส ทีม เป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน (Quick Win) ที่ สธ.ได้เสนอต่อรัฐบาลว่าจะต้องทำให้สำเร็จภายใน 100 วัน ฉะนั้น การที่ผู้ป่วยไปโรงพยาบาล (รพ.) ตรวจรักษา ได้ยา และได้กลับบ้าน แต่สิ่งที่มีความซับซ้อนมากกว่านั้นคือ การปฏิบัติต่อผู้ป่วยและญาติ ที่มีความเปราะบางทางอารมณ์ วิตกกังวล หวาดกลัว กลัวท้อแท้และสิ้นหวัง ซึ่งหากบุคคลเหล่านั้นได้รับการสื่อสารและเอาใจใส่ที่ดี หรือมีวิธีการขั้นตอนต่างๆ ที่สร้างความเห็นอกเห็นใจ ก็จะทำให้เขามีความรู้สึกมั่นใจและสบายใจว่า คนที่จะดูแลรักษาเขา ช่วยเอาใจใส่ดูแลเขาได้ อย่างไรก็ตาม สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน พบว่าความขัดแย้งระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยและญาติ ทำให้เกิดการฟ้องร้องกว่าร้อยละ 90 ผู้ให้การบริการเองก็เกิดความท้อแท้สิ้นหวัง หลายคนออกจากระบบราชการเพราะอยู่ไม่ได้ ดังนั้น จะต้องเสริมสร้างและแก้ไขปัญหา เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน เพื่อให้คนทำงานยังอยู่ในระบบได้

นพ.นพพล บัวสี กล่าวต่อไปว่า แคร์ ดีพลัส ทีม เป็น 1 ใน 13 นโยบาย ที่ สธ. จะต้องทำ เพื่อแก้ปัญหาให้แก่บุคลากรในเชิงโครงสร้างและระบบ เช่น การลดความแออัด การจัดบริการที่ดี การใช้บัตรประชาชนใบเดียวที่จะเริ่มนำร่องในวันที่ 1 มกราคม 2567 ใน 4 จังหวัดนำร่อง ส่วนวันที่ 2 เมษายน 2567 จะขยายการนำร่องเป็น 4 เขตสุขภาพ ทั้งนี้ สธ.จะทำให้บุคลากรมีขวัญกำลังใจ ป้องกันแก้ไขภัยร้ายต่างๆ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างเต็มความสามารถ เชื่อว่าวิชาชีพนี้มีจิตใจที่บริสุทธิ์มาก เห็นเพื่อนมนุษย์ที่ลำบากตกทุกข์ได้ยากก็ทุ่มเทเสียสละช่วยเหลือ “นี่คือพื้นฐานจิตใจของพวกเราที่ดีอยู่แล้ว แคร์ ดีพลัส ทีม เปรียบเสมือนญาติเฉพาะกิจ มิตรถาวร ทีมเชื่อมประสานใจ ตรงนี้เป็นภาพที่พวกเราสร้างขึ้นให้ทุกคนรับรู้และเข้าใจว่ามี ซึ่งเมื่อมีแล้วก็จะเกิดความคาดหวัง ดังนั้นเราต้องดำเนินการตรงนี้ โดยจะมีตัวแทนเสมือนทีมต่างหน้า โดยเฉพาะห้องฉุกเฉินคอยดูตลอดเวลา เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์จะไม่มีปัญหากัน” //////

ภาพ / ข่าว ศิริเกษ หมายสุข ผู้สื่อข่าวประจำ จ.ศรีสะเกษ

You missed