สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่านจังหวัดน่าน รดน้ำดำหัวขอพลเอกจงศักดิ์ พานิชกุล

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 ณ บ้านทุ่งเศรษฐี อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นายบุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน พร้อมด้วย พ.อ.พยอม บุญทร ที่ปรึกษาสมาคม นส.ชารี ชัยชนะ อุปนายกสมาคม นางพรรณี ณ น่าน ร.ต.อ.สถิตย์ ศรีประสม นางชวนพิศ ยะวิญชาญ คณะกรรมการสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รดน้ำดำหัวขอพรพลเอกจงศักดิ์ พานิชกุล เนื่องในโอกาสปีใหม่เมือง วันสงกรานต์ แสดงถึงความเคารพ นอบน้อมต่อบิดามารดาและผู้มีพระคุณมีความกตัญญูกตเวทีของผู้น้อยมาขอขมาลาโทษซึ่งกัน
ประเพณีรดน้ำดำหัวเป็นพิธีต่อเนื่องจากวันสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทยเป็นประเพณีที่แสดงถึงความเคารพ นอบน้อมต่อบิดามารดาผู้ใหญ่หรือผู้มีพระคุณเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีของผู้น้อยและขอขมาลาโทษที่ผู้น้อยอาจจะเคยล่วงเกินผู้ใหญ่อีกทั้งเป็นการขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองตลอดไปตั้งแต่วันแรกของการเริ่มประเพณีสงกรานต์จนถึงวันสุดท้ายของสงกรานต์ คำว่ารดน้ำดำหัวเป็นคำพูดของชาวเหนือที่จะไปรดน้ำขอขมาขอโทษผู้ใหญ่และขอพรจากผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือซึ่งจะมีการอาบน้ำ จริงๆ ฮือฮาทั้งตัวและดำหัวคือสระผมด้วยสิ่งที่ใช้สระผมก็จะเป็นน้ำส้มป่อยหรือน้ำมะกรูด การดำหัว ในความหมายทั่วไปของชาวล้านนาไทยนั้นหมายถึงการสระผม แต่ในพิธีกรรมโดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ของทุกๆปีหมายถึงการชำระสะสางสิ่งอันเป็นอัปมงคลในชีวิต ให้วิ ลาดพร้าวไปด้วยการใช้น้ำส้มป่อยเป็นเครื่องชำระจึงใช้คำว่าดำหัวมาต่อท้ายคำว่าลดน้ำซึ่งมีความหมายคล้ายกันกลายเป็นคำซ้อนคำว่ารดน้ำดำหัวประเพณีรดน้ำดำหัวถือว่าเป็นประเพณีที่ดีงามอีกประเภทหนึ่งที่ประชาชนชาวไทยถือปฏิบัติ เวลาที่ยาวนานซึ่งการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุหรือญาติผู้ใหญ่บุคคลผู้ที่ตนให้ความเคารพนับถือการรดน้ำดำหัวนั้นจะเป็นการขอโทษขออภัยซึ่งกันและกันที่เคยล่วงเกินกันหลายปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นการล่วงเกินทางกายล่วงเกินทางวาจาหรือว่าการล่วงเกินทางใจทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ทั้งต่อหน้าหรือว่าลับหลังก็ตามประเพณีรดน้ำดำหัว หรือบางครั้งก็เรียกว่าประเพณีปี๋ใหม่เมืองจะมีในระหว่างวันที่ 13 -15 เดือน เมษายนของทุกปีหรือวันสงกรานต์นั่นเองประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะกระทำกันในวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์เพียงวันเดียวหรือวันเถลิงศกนั่นเอง ประเพณีรดน้ำดำหัวเป็นสิ่งที่ทำต่อเนื่องกันมายาวนานในปีใหม่ของไทยเป็นการแสดงความเคารพและกตัญญูต่อบิดามารดาผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ ด้วยความเชื่อที่ว่าการขอขมาลาโทษพร้อมทั้งรับคำอวยพรเพื่อเสริมสิริมงคลของชีวิตและประเพณีนี้ยังทรงคุณค่ามาจนทุกวันนี้ และเมษายนของทุกปีหรือวันสงกรานต์นั่นเอง/ข่าว/พ.อ.พยอม บุญทร/ภาพ/หนานมอย/
/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน