ข่าว.กลุ่มโคบาลบูรพา จ.สระแก้ว ร้องสรวงศ์ฯ เลขาฯพรรคเพื่อไทย รับแจกวัว ไม่มีคุณภาพ เรียกร้อง ตรวจสอบทุจริต โครงการเรือธง งบกว่า 900 ล้าน ของกรมปศุสัตว์

 


เกษตรกรเลี้ยงวัวโคบาลบูรพา อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว เรียกร้อง ส.ส.เพื่อไทย ช่วยเหลือ หลังแจกวัวไม่มีคุณภาพ ร้องตรวจสอบทุจริต ในโครงการเรือธง งบประมาณ 900 ล้านบาท ของกรมปศุสัตว์

 


ช่วงสายวันนี้ที่ 26 พ.ค.67 นายสรวงศ์ เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสระแก้ว เขต 3 และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ได้เดินทางไปพบกับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค จากโครงการโคบาลบูรพา จังหวัดสระแก้วที่มีสมาชิกมากกว่า 6,000 คน ภายในหอประชุมที่ว่าการอำเภอโคกสูง หลังตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคและแพะ ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะโคที่มีการจัดส่งจากภาครัฐ เป็นโคที่ไม่มีคุณภาพ ส่งผลให้เกษตรกรต้องรับภาระเป็นหนี้ จากโครงการภาครัฐขนาดใหญ่ ตกครัวเรือนละประมาณ 200,000 บาทเป็นอย่างน้อย
นายทองสา ถาวรสาลี ประธานสหกรณ์ปศุสัตว์โคบาลบูรพาโคกสูง เป็นตัวแทนเกษตรกรมอบหนังสือให้กับนายสรวงศ์ เทียนทอง ส.ส.ในพื้นที่ เพื่อนำปัญหาดังกล่าวไปสะท้อนให้กับผู้นำรัฐบาลโดยตรง กล่าวว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโค จากโครงการโคบาลบูรพา ของอำเภอโคกสูงและอำเภออรัญประเทศ ยอมรับว่า ที่เดินทางมาในวันนี้ ก็เพราะต้องการให้ ส.ส.ในพื้นที่ นำปัญหาและความเดือดร้อนของเกษตรกรไปสะท้อนให้กับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หาทางช่วยเหลือเร่งด่วน เพราะโครงการดังกล่าว ถือว่า เป็นโครงการที่ดีช่วยเหลือ

เกษตรกรในช่วงหน้าแล้ง แต่ปัญหาคือ การแจกจ่ายโคให้กับชาวบ้านครัวเรือนละ 5 ตัว รวมทั้งเงินปลูกสร้างโรงเรือนอีก 50,000 บาท รวมแล้วเป็นหี้ครัวเรือนละประมาณ 200,000 บาท กลับสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงให้เกษตรกร เพราะการแจกจ่ายโคไม่ได้คุณภาพ ทำให้เกษตรกรไม่มีเงินใช้หนี้ตามกำหนด จึงได้รวมตัวเพื่อมาเรียกร้องให้ภาครัฐ ได้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้
โดยรายละเอียดในหนังสือ ต้องการความช่วยเหลือใน 4 เรื่อง คือ 1.ให้กรมปศุสัตว์งดเว้นการดำเนินคดีอาญาและแพ่งกับเกษตรกร ตลอดจนส่งเจ้าหน้าที่ไปเร่งรัดหนี้สินและให้เกษตรกรทำสัญญายอมรับสภาพหนี้ เพราะก่อนหน้านี้ กรมปศุสัตว์เคยดำเนินคดีกับเกษตรกรมาแล้ว 2.ให้รัฐบาลตั้งคณะทำงานตรวจสอบการจัดซื้อโคแม่พันธุ์ แพะแม่พันธุ์ และแพะพ่อพันธุ์ของกรมปศุสัตว์มีความโปร่งใสหรือไม่ 3.ภาพรวมโครงการโคบาลบูรพา ไม่ก่อให้เกิดรายได้และกลับเป็นการสร้างภาระให้กับเกษตรกรเป็นหนี้สินเพิ่มขึ้น จึงอยากให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้กรมปศุสัตว์ยกหนี้ให้เกษตรกร เนื่องจากความผิดพลาดในการดำเนินงานโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ และ 4.เกษตรกรต้องการให้ภาครัฐ สนันสนุนเงินทุนช่วยเหลือเพื่อทำแผนฟื้นฟูกิจการสหกรณ์ หรือ พิจารณาเลิกกิจการของสหกรณ์ทั้ง 3 แห่ง คือ สหกรณ์ปศุสัตว์โคบาลบูรพาวัฒนานคร อรัญประเทศ และโคกสูง
นายสรวงศ์ เทียนทอง ส.ส.จังหวัดสระแก้ว เขต 3 เลขาธิการพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า เป็นการลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาจากเกษตรกรโดยตรง ซึ่งหลังจากทีมงานได้รับข้อมูลจากเกษตรกรแล้ว จะนำปัญหาไปพูดคุยนอกรอบกับนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อนจะนำเข้าไปอภิปรายในสภา โดยปัญหาโครงการโคบาลบูรพาของจังหวัดสระแก้ว ภาพรวมเกษตรกรทั้งโครงการกว่า 6,000 คน เป็นหนี้รวมแล้วกว่า 350 ล้านบาท ส่วนใหญ่เรียกร้องให้ภาครัฐยกหนี้ให้เกษตรกร และห้ามดำเนินคดีชาวบ้าน ในฐานะ ส.ส.พื้นที่ จะนำปัญหาเหล่านี้ไปหาทางช่วยเหลือเกษตรกรให้เร็วที่สุด ซึ่งในปี 2560  คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณ 907,500,000 บาท ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินโครงการโคบาลบูรพาในพื้นที่ประสบภัยแล้งของจังหวัดสระแก้ว 3 อำเภอ คือ วัฒนานคร อรัญประเทศ และโคกสูง มีการแจกจ่ายโคแม่พันธุ์ให้เกษตรกรที่ร่วมโครงการมากกว่า 6,000 ราย รายละ 5 ตัว รวมแล้วมีโคแม่พันธุ์ที่แจกไปแล้ว มากกว่า 30,000 ตัว ราคาโคแม่พันธุ์ที่ระบุในสัญญาตกตัวละ 29,900  บาท ส่วนแพะแม่พันธุ์ (โครงการก่อนหน้านี้) มีเกษตรกรร่วมโครงการ  100 ราย

 

แจกจ่ายรายละ 30 ตัว ราคาที่ระบุในสัญญา แพะแม่พันธุ์ตกตัวละ 2,900 บาท แต่กลับไม่มีการระบุในสัญญา ทำให้เกษตรกรมองว่า โครงการโคบาลบูรพาของจังหวัดสระแก้วนั้น มีการทุจริตในหลายขั้นตอน โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง กลับเป็นเกษตรกรระดับรากหญ้าที่ต้องรับภาระหนี้สินโดยตรง

 

รายงานข่าวจาก.ไตรรัตน์ มีวงษ์ จ.สระแก้ว

You missed