พังงา-เปิดโครงการฟันเทียมพระราชทานในหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่แก่ประชาชนในจังหวัดพังงา

 

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 ที่ห้องประชุมเขาทอย วิทยาลัยเทคนิคพังงา เขต 2 อ.เมืองพังงา นางสาวนิรชา บัณฑิตย์ชาติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธานเปิดโครงการฟันเทียมพระราชทานในหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่แก่ประชาชนในจังหวัดพังงา ปี 2567 โดยมี

 

 

ทันตแพทย์ธนากร ศฤงคารชยธวัช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพังงา กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สมาคมศิษย์เก่าคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคพังงา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพังงา กลุ่มผู้สูงอายุและประชาชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

 

 


รศ.ดร.ทพ.ทรงชัย ฐิตโสมกุล คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ร่วมกันดำเนินโครงการฟันเทียมพระราชทาน สนองกระแสพระดำรัสพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ทรงห่วงใยราษฎรที่ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร ความว่า “เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจ ก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง” ดังนั้นนับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา จึงมีการจัดโครงการฟันเทียมพระราชทาน เพื่อดูแลผู้สูงอายุโดยการทำฟันเทียมหรือฟันปลอมตามจังหวัดต่าง ๆ เมื่อทราบว่าผู้สูงอายุในจังหวัดพังงายังมีความต้องการทำฟันเทียมจำนวนมากและการจัดบริการโดยโรงพยาบาลยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งการใส่ฟันเทียมทั้งปากเป็นเทคโนโลยีเฉพาะทางที่มีค่าใช้จ่ายสูง การจัดบริการอย่างมีคุณภาพต้องใช้ทักษะ และประสบการณ์ อีกทั้งการเข้าถึงบริการฟันเทียมของผู้สูงอายุค่อนข้างมีความยากลำบาก ผู้สูงอายุ ต้องเดินทางมารับบริการที่ โรงพยาบาลบ่อยครั้ง จึงจำเป็นต้องจัดบริการใส่ฟันเทียมทั้งปากแก่ผู้สูงอายุจังหวัดพังงาเป็นกรณีพิเศษ เพื่อยกระดับสุขภาพและคุณภาพชีวิต
ด้วยเหตุนี้ หน่วยทันตกรรมพระราชทาน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา จึงได้ดำเนินงานโครงการ “ฟันเทียมพระราชทาน” ขึ้น เพื่อเผยแพร่พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ทรงห่วงใยในปัญหาทันตสุขภาพของซาวไทย โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสและอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทำให้ผู้ที่สูญเสียฟันทั้งปากเข้าถึงการบริการทางทันตกรรม

 

 

 

และมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้บริการฟันเทียมทั้งปาก จำนวน 90 คน และให้บริการทางสุขภาพปากทั้งขูดหินปูด อุดฟัน ถอนฟัน และรักษารากฟันเทียมให้แก่ประชาชนทั่วไป รวมระยะ

You missed