พิษณุโลก อบจ.พิษณุโลก จัดฝึกอบรมทบทวนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เตรียมพร้อมเผชิญเหตุตลอด 24 ชั่วโมง


วันที่ 27 สิงหาคม 2567 นางสีไพร โกรรม ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด รักษาราชการแทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมทบทวนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้กับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่ในฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ระหว่างวันที่ 27 – 29 สิงหาคม 2567 ณ อาคารฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก โดยมี นายชมภู จันทร์เชื้อ หัวหน้าฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รักษาราชการแทนหัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการ ภายในพิธีได้รับเกียรติจากหัวหน้าส่วนราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ร่วมเปิดโครงการ
ทั้งนี้ด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ที่จะต้องดำเนินการป้องกันและลดอันตรายความเสียหายที่เกิดจากสาธารณภัย เช่น อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง ดินโคลนถล่ม ภัยจากสารเคมี และวัตถุอันตราย ภัยจากคมนาคนขนส่ง ตั้งแต่ยามปกติและขณะเกิดภัยให้กับประชาชนให้ได้รับความปลอดภัย โดยเฉพาะปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในพื้นที่ ตลอดจนการจัดเก็บสารเคมีวัตถุอันตรายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการเติบโตของเมืองในพื้นที่มากกว่าเดิมที่มีมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในด้านนี้ในฐานะผู้พิทักษ์ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีความที่จะเผชิญเหตุได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีปฏิภาณไหวพริบที่ดี ตระหนักถึงอันตรายจะเกิดขึ้นแก่ตนเองและผู้ประสบภัย ตลอดจนความเสียหายที่จะเกิเฉพาะการปฏิบัติงานจะต้องมีลักษณะเป็นทีมงาน และมีการประสานงานที่ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างที่ปฏิบัติงานในฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ จำนวน 31 คน
โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรของฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดฯ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เป็นวิทยากรให้ความรู้และดำเนินการฝึกทบทวนอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตลอดทั้ง 3 วัน อาทิ หลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, ฝึกปฏิบัติการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, ฝึกปฏิบัติการวิ่งสายดับเพลิง-การสวมข้อต่อ-การส่งข้อต่อและการวิ่งแผนดับเพลิง, ฝึกปฏิบัติเทคนิคการใช้ถังดับเพลิงและการดับเพลิงขั้นต้น, ฝึกปฏิบัติเทคนิคการดับเพลิงในอาคาร, ฝึกเทคนิคการใช้หัวฉีดดับเพลิงประเภทต่างๆ , ฝึกปฏิบัติเทคนิคการผจญเพลิงจากเชื้อเพลิง-จากก๊าซและของเหลว , การใช้ระบบเชือกและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในการกู้ภัย และฝึกปฏิบัติการใช้อุปกรณ์กู้ภัยทางน้ำ.
ธันย์ชนก ทองเพิ่ม ผู้สื่อข่าวพิษณุโลก

You missed