ศรีสะเกษ – ชวนชิม เซาอัง ขนมในตำนาน ลิ้มรสชาติอาหารที่หายไป ของพื้นเมืองชาวเผ่าเขมร

ชวนชิม ขนมปาด หรือ ขนมแป้งปิ้งโบราณ – ขนมเซาอัง อาหารท้องถิ่น พื้นเมือง ของชาวเผ่าเขมร ที่มีมาแต่บรรพบุรุษโบราณ รสชาติอร่อยแตกต่าง ที่นี่ ที่เดียว ศรีสะเกษ

ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดศรีสะเกษว่า ตามที่จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการคัดเลือกเมนูสุดยอดอาหารถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติ….ที่หายไป The Lost Taste” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ของอาหารไทย อาหารท้องถิ่น ที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนไทย รวมถึงการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับอาหารไทยและอาหารท้องถิ่น ต่อยอดสมุนไพรไทย สรรพคุณทางเลือกและส่งต่อเป็นภูมิปัญญาที่มีการสืบทอดรุ่นสู่รุ่น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมศักยภาพของเครือข่ายวัฒนธรรมในการบริหารจัดการงานวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยในส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ ได้คัดเลือก เมนู “ขนมปาด หรือ ขนมแป้งปิ้งโบราณ – ขนมเซาอัง” ซึ่งเป็นอาหารถิ่นประจำจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งหลายคนรู้จัก แต่ยังมีอีกหลายคนยังไม่รู้จัก และยังรู้สึกสงสัย ว่าเมนูนี้คืออะไรกันแน่

ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ตามหา เมนูอาหารนี้ จนกระทั่งพบเจอ ที่บ้านแขว ตำบลห้วยใต้ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ มี น.ส.รัตนาภรณ์. ชาติวงศ์ ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า สำหรับเมนู “ขนมปาด หรือ ขนมแป้งปิ้งโบราณ – ขนมเซาอัง” เป็นอาหารพื้นเมือง ของชาวเผ่าเขมร ที่มีมาแต่โบราณ โดยคำว่า ปาด หรือ เซาอัง แปลกว่า แป้งปิ้ง ที่เป็นขนมหรือของกินของชาวเผ่าเขมร โดยวิธีทำ ปาด นั้นจะเริ่มจากการน้ำข้าวสารหม่า ก่อนจะนำมาตำให้ละเอียด และเอามาร่อนจนได้แป้ง แล้วแป้งที่ได้มาปรุงรสด้วยการใส่เกลือ น้ำตาล ก่อนจะปั้น และเอามาใส่ใบตองแล้วนำไปปิ้งบนเตาถ่านให้แห้งหรือสุก ก็จะได้เป็น “ขนมปาด” หรือ ขนมแป้งปิ้งโบราณ
แต่ในปัจจุบัน “ขนมปาด” ได้ถูกพัฒนาและถูกตั้งชื่อขึ้นมาใหม่เป็นชื่อ “ขนมเซาอัง” ที่พัฒนาขึ้นมาให้เหมาะกับคนในยุคปัจจุบัน และปรับหน้าตาของขนมให้เป็นหน้าขนมหรือใส่ต่างๆให้น่ากินมากขึ้น แต่ยังคงแนวคิดเดิม คือ แป้งปิ้ง ซึ่งวิธีทำนั้นจะต่างออกไปจากการทำ “ขนมปาด” เล็กน้อย โดยเริ่มจากการนวดแป้งที่ทางร้านคิดค้นมาให้ได้แป้งที่นุ่ม นำมาปั้นและชั่งให้ได้ขนาดที่เป็นมาตรฐาน ต่อมาก็มาปั้นใส้ ซึ่งทางร้านคิดค้นใส้ไว้ 7 ใส้ คือใส้ มะพร้าว,เผือก,มันม่วง,มันหวานญี่ปุ่น,ถั่วเหลือง,ทุเรียนภูเขาไฟ,หอมแดง นำใส้มาปั้นใส่แป้งที่เตรียมไว้ และนำมาทอดด้วยน้ำมัน พอทอดจนเหลืองได้ที่แล้ว ก็นำขึ้นไปอังหรืออบเพื่อทำไล่น้ำมันที่ทอดออก และทำให้ “ขนมเซาอัง” แห้งไม่มีน้ำมัน พอสุกเหลืองได้ที่ก็ปล่อยให้เย็นก่อน ถึงนำ “ขนมเซาอัง” มาบรรจุลงกล่องที่เตรียมไว้เป็นอันเสร็จ

น.ส.รัตนาภรณ์ ชาติวงศ์ กล่าวต่อไปว่า การที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ประกาศให้เมนู ขนมปาด หรือ ขนมเซาอัง เป็นเมนูอาหารพื้นถิ่น 1 จังหวัด 1 เมนู ในครั้งนี้ ตนและชาวเผ่าเขมร ต่างรู้สึกดีใจมาก รู้สึกภาคภูมิใจ ที่อาหารพื้นบ้านของบรรพบุรุษเราทำไว้ เป็นเมนูอาหารที่ได้รับความสนใจ และจะเป็นที่รู้จักมากขึ้น พร้อมทั้งยังจะสามารถส่งต่อไปถึงลูกหลานได้ ทั้งนี้ ขนมปาด หรือ ขนมเซาอัง ทางร้านจะขายชิ้นละ 15 บาท กล่องละ 100 บาท ในกล่องจะมี 7 ชิ้น 7 ใส้ มี 7 รสชาติ ซึ่งในจังหวัดศรีสะเกษ ตอนนี้มีเพียงร้านตนที่ทำขายเพียงร้านเดียวเท่านั้น

สำหรับ ใครที่สนใจยากลองชิมก็สามารถเข้ามาชิม ซื้อ ได้ที่ร้านขนมซาวอัง อยู่ตรงวงเวียนแม่ศรีสระผม ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เบอร์โทร 082-094-3919, 085-515-1318 หรือ จะเข้าไปดูในเพจเฟสบุ๊ค ชื่อ ร้านขนมซาวอัง Sao Aung ขนมดัง 4 เผ่าไทย///////

ภาพ/ข่าว จิรภัทร หมายสุข ศรีสะเกษ โทรศัพท์ 088-590-4090

You missed