#ข่าวดี้ดี ปลุกกระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพภายใต้แนวคิด Wellness Hub and Partnership Provider
นายแพทย์สมชัย เจียรนัยศิลป์
ประธานกรรมการบริหารโรงพยาบาลธนบุรึ ตรัง(เดิมชื่อโรงพยาบาลตรังรวมแพทย์)
เป็นรองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กว่า 5 ปี ซึ่งถือเป็นผู้ที่คล่ำหวอดในวงการทั้งการแพทย์และการท่องเที่ยว จากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้มองเห็นโอกาสที่จะสร้างความยั่งยืนโดยผ่านกิจกรรมด้านสุขภาพ ซึ่งยังมีอีกหลายแนวคิดที่จะได้เสนอแนวทางการสร้างความยั่งยืนด้านการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนและเชื่อมโยงในทุกมิติของห่วงโซ่การท่องเที่ยว ด้วยแนวคิด Wellness Hub and Partnership Provider การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นหนึ่งในแนวโน้มที่เติบโตอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อน การดูแลสุขภาพ การฝึกโยคะ การทำสปา หรือแม้กระทั่งการเข้ารับการบำบัดทางการแพทย์และการผ่าตัดความงาม บทความนี้เป็นผลการสำรวจหลากหลายมิติของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเหตุผลที่ทำให้มันได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่นักเดินทางทั่วโลก จากการประเมินของ Global Wellness Institute การท่องเที่ยงเชิงสุขภาพจะกลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดดจากปีนี้ไปอีกหลายปี โดยเติบโตเฉลี่ยสูงถึงปีละ 20.9% และมูลค่าสาขานี้จะทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2024 พอรู้อย่างนี้แล้วผู้ประกอบการสามารถเตรียมตัวให้พร้อมไว้ได้เลย จากรายงานของ Global Wellness Institute ในปี 2018 อัตราการเติบโตของ Wellness Tourism ในทวีปเอเชียสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก เติบโตขึ้น 33% จาก 194 ล้านทริป เป็น 258 ล้านทริปภายในช่วงเวลา 2 ปี การวิจัยจากมหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ ให้ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 6 ของโลก หรือที่ 1 ของเอเชีย จาก 195 ประเทศทั่วโลก ในเรื่องดัชนีความมั่นคงทางด้านสุขภาพประเทศไทยเป็น Medical Hub ในการให้บริการทางการแพทย์ระดับโลก และมีโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรอง JCI สูง ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความมั่นใจว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน คุณภาพของการรักษาพยาบาลในประเทศไทยสามารถดูแลรักษาตัวเขาหรือครอบครัวของเขาได้ติดอันดับที่ 2 ของโลก จากการโหวตให้เป็นประเทศเป้าหมายที่อยากคนอยากมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รองจากออสเตรเลีย จากการจัดอันดับของ Wellness Tourism Initiative 2020 กรุงเทพฯ ได้รับการจัดเป็นอันดับที่ 1 ของโลก สำหรับสถานที่เหมาะสำหรับทำงานไปด้วยท่องเที่ยวไปด้วย หรือที่เรียกว่า Workation จาก Holidu Magazine UK ตามมาด้วยเชียงใหม่ ภูเก็ต ได้อันดับ 10 ของโลกประเทศไทยถูกจัดให้อยู่อันดับ 5 ของโลก จาก Money UK เป็นสถานที่ที่คนเกษียณอายุอยากไปอยู่ที่สุด กรุงเทพฯ ได้อันดับ 1 ของ Best Cities จากการสำรวจ Readers’ Choice Awards 2022 ของนิตยสาร DestinAsian แล้วเราจะทำอย่างไรให้ทุกมิติในห่วงโซ่การท่องเที่ยวและบริการสามารถได้ประโยชน์ร่วมกัน สามารถผลิต สามารถให้บริการ สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้แก่ผู้มีส่วนร่วมได้อย่างยั่งยืน และในแต่ละส่วนจะมีส่วนได้อย่างไร จึงเป็นที่มาของแนวคิด Wellness Hub and Partnership Provider ซึ่งมีรายละเอียดที่จะขอกล่าวในโอกาสต่อไป จึงถือเป็นแนวคิดที่เป็นประโยชน์อย่างมากในยุคของกระแสการท่องเทียวเชิงสุขภาพ รายละเอียดเพิ่มเติมทางทีมข่าวจะนำมาเสนอต่อไป ทีมข่าว…………………………