อ.พบพระ ย่ามชนเผ่าขายดี ชนเผ่าลีซู เร่งทำย่าม ให้ทันช่วงเทศกาลปีใหม่ลีซู ขายในโซวเชียล และขายที่บ้าน ผลิตแทบไม่ทัน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากพื้นที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
ณ.บ้านทรัพย์อนันต์ ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
จากสถานการณ์ พืชผลทางการเกษตร ราคาไม่ค่อยดี ทำให้เกษตรกร ต้องหาอาชีพเสริม เพื่อนำรายใด้มาเลี้ยงครอบครัว
ชาวไทยเชื้อสายลีซู เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส นำวิถีชีวิตชนเผ่าลีซู มาเสริมอาชีพ ทำย่าม ทำกระเป๋าชนเผ่าลีซู ขาย สุดปัง คนสั่งซื้อ ผลิตแทบไม่ทัน
นางยาใจ แซ่ลึ้
อายุ46ปี อยู่บ้านเลขที่19/142 บ้านทรัพย์อนันต์(บ้าน18)หมู่ที่ 13 ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่า ช่วงนี้ตนเองทำอาชีพเสริมทอย่าม หรือกระเป๋า ชนเผ่าลีซู ขาย เป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับตนเอง ข่วงนี้ขายดีมาก เพราะเหลือเวลาอีก 2 เดือน ก็จะถึงปีใหม่ลีซู จึงมีลูกค้าสั่งจอง เป็นจำนวนมาก ทอแทบไม่ทัน
เหตุที่มาทอผ้าชนเผ่า และ นำมาแปลงเป็นกระเป๋า หรือย่าม
เนื่องจากตัวเองทำไร่ข้าวโพดน้ำพริก ช่วงนี้ราคาไม่ค่อยดี
จึงเอาวิกฤตเป็นโอกาส เนื่องจากตนเองตั้งแต่เล็กๆ เห็นปู่ย่าตายาย พ่อแม่ทอผ้าชนเผ่า จึงเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่เด็ก
จนมาถึงทุกวันนี้ ปกติก็พอใช้เอง แต่เพื่อนๆ สนใจสั่งซื้อสั่งท่อ ทำให้ตัวเองเห็นโอกาสนี้ จึงรีบผลิต ให้ทันช่วงปีใหม่ลีซู หรือช่วงตรุษจีนที่จะถึงนี้
ขายกระเป๋าได้ในราคา เริ่มตั้งแต่300-350-400 และที่มีเครื่องประดับติดกระเป๋าราคาประมาณ1,300บาท
ท่านใดสนใจติดต่อได้ที่
เพจfacebook.มินตา ตาก
หรือโทร0988055046
กระเป๋าย่าม ลีซู ลายดั้งเดิม(ขาว-แดง)
ผลิตจากการทำด้วยมือ ทอผ้ากี่มือ จากวัฒนธรรมชนเผ่าลีซู จะเป็นกระเป๋าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
มีความเชื่อว่าเป็นชนเผ่าที่มีการแต่งกายสีสันสดใส ความกล้าในการตัดสินใจ และความเป็นอิสระชนสะท้อนออกมาให้เห็น จากการใช้สีตัดกันอย่างรุนแรง ในการเครื่องแต่งกาย คนอื่นเรียกว่าลีซอ แต่เรียกตนเองว่า “ลีซู” (คำว่า “ลี” มาจาก “อิ๊หลี่” แปลว่า จารีต ประเพณีหรือวัฒนธรรม “ซู” แปลว่า “คน”) มีความหมายว่า กลุ่มชนที่มีขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง อาจกล่าวได้ว่าชาวลีซูเป็นกลุ่มชนที่รักอิสระ
ย่ามของลีซู
ย่าม ใช้งานของลีซูทอด้วยด้ายขาว หรือด้ายดิบโดยใช้ที่ผูกข้อมือ เป็นผ้าพื้นขาวยกลายทางสีแดง หรือสีอื่นๆ นอกจากสะพายบ่าเหมือนเผ่าอื่น ยังมีการติดสายหวายถัก ซึ่งใช้คาดศัรษะให้ตัวย่าม ห้วอยู่บนบ่าอีกด้วย ย่ามไปงานทอด้วยเส้นด้าย มีการทิ้งครุยกรายด้านข้าง แล้วยังมีหู คือชิ้นผ้าสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่มุมทั้งสองของย่าม ลายปักงดงามแปลกตาที่ หูนี่ไม่มีซ้ำกัน เพราะถือว่าเป็นลายเซ็นของคนทำ บางคนก็จะติดกระดุมเงินเม็ดน้อยไว้ที่มุมหู ปากย่ามกุ๊น และปะแต่งด้วยแถบผ้าหลากสี และยังทิ้งแถบผ้าสีแดง และสีฟ้าเข้มห้อยจากหูลงไปด้วย ย่ามที่งดงามที่สุดไม่ว่าจะเป็นของลีซู หรือเผ่าอื่นใดคือ ย่ามเกี้ยวสาว ของหนุ่มวัยกำดัดนั้นทำเหมือนย่ามที่กล่าวมาแล้ว แต่แผ่นหน้าปักลูกปัดเป็นเม็ดเล็ก ๆ หลายสีไว้เต็มพืดเป็นลายละเอียดแถบผ้าที่ห้อยจากหูนั้นยาวร่วม 20 ซม. ปักประดับด้วยด้ายสีสดหลายสีไม่มีว่างเว้นกัน ย่ามห้อยครุยไหมพรมหลากสียาวเทาแถบผ้าจากหู และปกย่ามติดกระดุมตุ้มระย้าเงินตลอดแนว
การผลิต
หน้าที่ ผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเป็นของฝ่ายหญิง เช่นเดียวกับชนเผ่าอื่น ๆ วัสดุที่ใช้ผลิตปัจจุบันซื้อผ้าทอ และด้ายย้อมสีสำเร็จรูปจากโรงงานที่มีขายตามร้าน ลักษณะการทอผ้าของลีซูเหมือนกลุ่มมูเซอ คือ เป็นแบบห้อยหลัง หรือสายคาดหลัง การทอผ้าเพื่อเย็บสวมใส่ ไม่มีปรากฏในชุมชนลีซูของประเทศไทย ปัจจุบันมีเพียงการทอผ้าหน้าแคบขนาดเล็ก ๆ เพื่อนำมาเย็บประกอบเป็นย่ามเท่านั้น
การตกแต่ง
ลักษณะการตกแต่งเสื้อผ้า ส่วนใหญ่เน้นประดับด้วยแถบริ้วผ้าสลับสี ผ้าตัดปะและเม็ดโลหะเงินมีการตกแต่งด้วยลายปักบ้างเล็กน้อย และด้านข้างสายย่ามช่วงต่อกับพู่ที่จะทิ้งชายลงมาทั้งสองด้านเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีการตกแต่งเพิ่มเติมให้ดูโดดเด่นขึ้นอีกหลายแบบ เช่น ใช้พู่ไหมพรมหลากสี กระจุกด้ายลูกปัด และเครื่องเงิน
ลวดลาย
ลักษณะลวดลายพื้นฐานซึ่งเป็นที่รู้จักดีในกลุ่มผู้หญิง และส่วนใหญ่เป็นลวดลายที่เกิดจากการใช้แถบริ้วผ้าสลับสีผสมผสานกับลายตัด ผ้าปะ เช่น คัวะเพียะคว้า (ลายหางธนู) เพี่ยะกุมาคว้า (ลายหน้าอกเสื้อ) อ๊ะหน่า (ลายเขี้ยวหมา) ลายนี้ยิ่งทำเขี้ยวได้เล็กมากเท่าไหร่ แสดงว่าผู้ทำมีฝีมือดี ฟูยี่ฉี่ (ลายท้องงู) นะหูเมี่ยซืย (ลายตาหมวก) อี๊กือจะย่า (ลายริ้วผ้าสลับสี) ใช้สลับหรือกำหนดลาย จะสังเกตได้ในการตกแต่งคอเสื้อผู้หญิง จะใช้ลายเพียงสองลาย คือ อี๊กือจะย่า หรือ ลายริ้วผ้าสลับสี และลายอ๊ะหน่าหรือ ลายเขี้ยวหมาซึ่งง่ายต่อการ ปรับให้โค้งไปตามแนวรอบคอ ลายอี๊กือจะย่า ลายริ้วผ้าสลับสี และลายเขี้ยวหมา จะใช้ประกอบกับทุกลาย ส่วนลายอื่นๆ ไม่นิยมนำมารวมกัน จะเลือกใช้เพียงลายใดลายหนึ่ง นำมาเป็นลายหลักแล้วแต่งประกอบด้วยลายอี๊กือจะย่า และลายอ๊ะหน่าซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ตกแต่งแขนเสื้อ เข็มขัด และหมวกเด็ก
ชวลิต วิกุลชัยกิจ/รายงาน
ติดตามข่าวได้ที่เว็บไซต์
#คมชัด AEC TV ออนไลน์
#ข่าวนคร AEC TV ออนไลน์