ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์เครือข่ายสื่อมวลชนภาคเหนือ นำ ประชาสัมพันธ์จังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือ พร้อมด้วย สื่อมวลชน จากเครือข่ายต่างๆจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ ศึกษาดูงานเขื่อนสิริกิติ์ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์
#รู้เท่าทันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ พามาศึกษาดูงานเขื่อนสิริกิติ์ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์
โดยมี นายถิรวุฒิ เจียมเกตุ
ช่างระดับ 8 แผนกบำรุงรักษา 1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บรรยายให้ความรู้การซ่อมบำรุงสายส่งไฟฟ้า
ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ)
เป็นวิทยาบรรยาย ถึงหน่วยงานของ .กฟผ. เขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลาจังหวัดอุตรดิตถ์ การบรรยาย เรื่องภารกิจของหน่วยงาน อปน.
ในด้านความมั่นคงของระบบส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าในภาคเหนือ
เขื่อนสิริกิติ์ เดิมเขื่อนนี้มีชื่อว่า เขื่อนผาซ่อม โดยก่อสร้างปิดกั้นแม่น้ำน่าน บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ภายหลังได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มาขนานนามเขื่อนว่า เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2511
ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 งานก่อสร้างตัวเขื่อนและองค์ประกอบได้แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2515 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนสิริกิติ์ และโรงไฟฟ้าอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2520 หลังจากงานก่อสร้างตัวเขื่อน และโรงไฟฟ้า เสร็จเรียบร้อยแล้วกรมชลประทาน ได้มอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รับผิดชอบในการควบคุมดูแลรักษา
เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย การก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนตัวเขื่อนและองค์ประกอบ กับส่วนโรงไฟฟ้าและองค์ประกอบ การก่อสร้างตัวเขื่อนและองค์ประกอบ ดำเนินการโดยกรมชลประทาน เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2511 ส่วนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและองค์ประกอบดำเนินการโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2511 ลักษณะเขื่อนและโรงไฟฟ้า เขื่อนสิริกิติ์ สร้างปิดกั้นลำน้ำน่าน ที่ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

ดำเนินการก่อสร้างโดยกรมชลประทานเมื่อปี พ.ศ. 2506 แล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2515 ลักษณะของเขื่อน เป็นเขื่อนดิน แกนกลางเป็นดินเหนียว สูง 113.6 เมตร ยาว 810 เมตร กว้าง 12 เมตร อ่างเก็บน้ำสามารถเก็บกักน้ำได้ 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตร ความจุของอ่างมากเป็นที่สามรอง จากเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนภูมิพล โรงไฟฟ้าและองค์ประกอบดำเนินการก่อสร้างโดยการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เมื่อปีพ.ศ. 2511 แล้วเสร็จใน ปีพ.ศ. 2515 ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวม 4 เครื่อง กำลัง ผลิตเครื่องละ 125,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 500,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 1,000 ล้านกิโลวัตต์ ชั่วโมง

You missed