ตราด อ.คลองใหญ่ จัดโครงการประเมินผลและติดตามผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 3 ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณหาดบานชื่น ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ครั้งที่ ๒ เมื่อเวลา 13.30น.วันที่ 11 มกราคม 2567 ณ.องค์บริหารส่วนตําบลไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด โดยมี นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดตราดได้มอบหมายให้ นายณรงค์ เทพเสนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประเมินผลและติดตามผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 3 ฯ นายธนากร สงวนพงษ์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดตราด กล่าวรายงานถึงโครงการฯวัตถุประสงค์ พร้อมนายเชิดศักดิ์ ชุ่มนาเสียว นายอําเภอคลองใหญ่ นายสวัสดิ์ วงษ์จําปี รองนายก อบต.ไม้รูด ผู้ใหญ่บ้าน และผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบลไม้รูด และประชาชนชาวบ้านไม้รูดทุกหมู่บ้านเข้าร่วม จํานวน 62 คน โดยมีทีมวิทยากรผู้บรรยาย นายชัชชัย อภินันทิตยา วิศวกรโครงการบรรยาย นายธนากร สงวนพงษ์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดตราด ได้กล่าวโครงการฯว่า เพื่อการศึกษาสํารวจและประเมินผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ต่อเนื่อง(End Effect) หากมี และจัดทํารายงานการประเมินผลและติดตามผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในพื้นที่ศึกษาจํานวน 20 พื้นที่ เพื่อสรุปผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในพื้นที่ศึกษาทั้งในมิติของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและต่อสภาพสังคม เพื่อออกแบบรายละเอียด และก่อสร้างโครงการใน 2 พื้นที่ศึกษา สำหรับเป็นโครงการนำร่อง(Pijot Project) ในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ต่อเนื่อง โดยประเมินประสิทธิภาพและจัดทำรายงานแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ต่อเนื่อง สำหรับเป็นแนวทางในการแก้ไขผลกระทบชายฝั่งให้ถูกต้องและเหมาะสมและมีประสิทธิภาพโดยสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม อาชีพ ความปลอดภัย วิถีชีวิต ชุมชนหรือสังคม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางธรณีสัณฐาน และสภาพชายหาด ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการในพื้นที่ศึกษาและพื้นที่ข้างเคียง เพื่อชี้แจงสรุปผลการศึกษา ประเมินผลและติดตามผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในพื้นที่ศึกษา เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจากโครงการสร้างเขื่อน
เพื่อให้ผู้มีส่วนร่วมทุกระดับ โดยเฉพาะประชาชนในเขตพื้นที่ศึกษาได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ และเพื่อให้การศึกษาและออกแบบการแก้ไขปัญหาผลผลกระทบจากโครงการสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลปัจจุบันถูกต้อง ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพโดยสามารถลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการในพื้นที่ศึกษาและพื้นที่ข้างเคียง โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองกระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าของโครงการโดยเริ่มศึกษาโครงการในวันที่ 13 ธันวาคม 2564 สิ้นสุดวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีบริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จํากัด และบริษัท ซี แอนด์ แลนด์ คอร์ปอเรซั่น จํากัด ให้เป็นผู้ดําเนินการศึกษาเป็นต้นต่อไป/ภาพ/ข่าว/วิเชียร ม่วงสี ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.ตราด

You missed