อช.ดอยภูคาเยี่ยม ลด Hotspot ตามเป้าของอธิบดีเอ็ดดี้ กรมอุทยาน ฯ น้อยกว่า ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ถึง 312 จุด ในช่วงเวลาเดียวกัน


หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคาเยี่ยม ปฏิบัติภารกิจแก้ปัญหา เดินรณรงค์เคาะประตูบ้านป้องกันลักลอบจุดไฟป่า จุดความร้อน (Hotspot) ได้ตามแผนมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 หมอกควันและไฟป่าของอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้ลดจำนวนการเกิด Hotspot ลง 50 % จากปี 2566 ไม่เกิน 853 จุด น้อยกว่าปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ถึง 312 จุด ในช่วงเวลาเดียวกัน
14 มี.ค.67 ณ ห้องประชุมที่ทำการอุทยาแห่งชาติดอยภูคา ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน นายชนินทร์ พันธุ์เหม (นายอำเภอปัว) ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีเนื้อที่มากที่สุดในภาคเหนือของไทย เป็นป่าอนุรักษ์ที่ทรงคุณค่าในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดย นายรณกฤต จักร์เงิน เป็น หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จัดประชุม คณะกรรมการ จัดการประชุม PAC คณะกรรมการที่ปรึกษา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา และร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายศุภวัฒฒน์ มะทะ สถานีสถานควบคุมไฟป่า อุทยานแห่งชาติดอยภูคา พ.อ.วัฒนา จัทรไพจิตร เลขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดน่าน ,พ.อ.กฤตินันท์ นิโรบล ฉก.ทพ.32 ผู้นำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ผลตามเป้าวัตถุประสงค์ของ นาย อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้นโยบาย ลดจำนวนการเกิด Hotspot ลง 50 % จากปี 2566 ไม่เกิน 853 จุด และคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ได้วางมาตรการงดเผาไว้ ลดจำนวนวันลงเหลือ 47 วัน จาก 15 มี.ค. 67 – 30 เม.ย.67 เป็นช่วงห้ามเผาเด็ดขาด
นายรณกฤต จักร์เงิน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา กล่าวในที่ประชุม การที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคาจังหวัดน่าน สามารถปฏิบัติภารกิจในช่วงก่อนหน้า วันห้ามเผาเด็ดขาด ตามคำสั่งของ นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ได้ออกคำสั่ง วันห้ามเผาเด็ดขาดห้วงระยะเวลา 47 วัน ตั้งแต่ วันพรุ่งนี้ 15 มีนาคม – 30 เมษายน 2567 เป็นช่วงห้ามเผาเด็ดขาด ขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดน่าน ร่วมกันงดเว้นการเผาโดยเด็ดขาด ในห้วงเวลา 15 มีนาคม -30 เมษายน 2567 “เพื่อให้จังหวัดน่าน ท้องฟ้าแจ่มใส ไร่ฝุ่น PM2.5 ด้วยความร่วมมือจาก จังหวัด อำเภอ หน่วยของท้องถิ่น และเราได้ใจของผู้บริหารท้องถิ่นท้องที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชน ทั้ง 8 อำเภอ 37 หน่วยงาน ใน
ด้วยการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ การบริการเชิงพื้นที่ โดยให้หัวหน้าอุทยาน หัวหน้าพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เป็น CEO ศูนย์ประสานงานมีอัตรากำลังเพิ่ม จากการทำงานเฉพาะ ของ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ร่วมกับสถานควบคุไฟป่า 2 หน่วยงานหลัก ปัจจุบันเราได้หน่วยงานเพิ่มจากหน่วยงานจัดการต้นน้ำ จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อีก 37 หน่วยงาน ทำให้มีอัตราการทำงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น 340 กว่าคน มีอุปกรณ์เครื่องเป่าลม ยานพาหนะเพิ่มขึ้น
การบริหารงานมีโครงสร้างชัดเจน
ได้รับการสนับสนุน จาก จังหวัด อำเภอ หน่วยของท้องถิ่น และเราได้ใจของผู้บริหารท้องถิ่นท้องที่ เนื่องจากว่าทางอุทยานฯ ได้มีการประสานงาน การบริการให้ความช่วยเหลือการปรับปรุงถนน โครงการประปาภูเขา หรือโครงการอื่น ๆ โครงการปรับปรุงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ให้พี่น้องชาวบ้านมีการกินอยู่ที่ดี สิ่งเหล่านี้ทำให้พี่น้องชาวบ้าน ผู้บริหารท้องถิ่น เห็นว่าทางอุทยานฯ มีความจริงใจมีความเป็นมิตร สิ่งทางอุทยานฯ ได้รับการตอบแทนกลับมาคือความร่วมมือ เพราะปัญหาการเกิดไฟป่าเกิดจากคน
จัดตั้งเจ้าหน้าที่ ประจำจุดเฝ้าระวังไฟ คัดกรองราษฎรเข้า – ออก พื้นที่ป่า ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์เคาะประตูบ้าน เฝ้าตรวจจุดความร้อน (Hotspot) 24 ชม.เมื่อพบ ส่งเจ้าหน้าที่เข้าทำการควบคุมและทำการดับทันที ปรับแผนกลยุทธการปฏิบัติงาน โดยใช้รถยนต์ของทางราชการ เข้าลาดตระเวนในพื้นที่เส้นทางที่คาดว่าจะมีผู้ลักลอบเผาป่า สะดวกต่อการเพื่อตัดไม้ ล่าสัตว์ หาของป่า ซึ่งจะเป็นสาเหตุการเผาป่า ผลงานที่ออกมาจึงบรรลุตามเป้าหมาย และจะพยามรักษามาตรการนี้ไว้ ตลอดไป
เปรียบเทียบการเกิด จุดความร้อน (Hotspot) ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 และปีงบประมาณ 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.66 – 12 มี.ค.67 ของปีงบประมาณ
ปีงบประมาณ 2566 มีการเกิด จุดความร้อน (Hotspot) 401 จุด จุด ปีงบประมาณ 2567 เกิดเพียง 89 จุด
คิดเป็น 22.19 % ของจำนวนจุดความร้อน (Hotspot) ในห้วงเวลาเดียวกันซึ่งลดลงจาก ปี 2566 77.81 %
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เกิดจุดความร้อน (Hotspot) 89 จุด น้อยกว่า ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 อยู่ 312 จุด คิดเป็น 5.21 % ของจำนวน จุดความร้อน (Hotspot) ทั้งหมดในปี พ.ศ.2566 จำนวนจุดความร้อน (Hotspot) ลดลง 94.79 %
นโยบายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ลดจำนวนการเกิด Hotspot ลง 50 % จากปี 2566 ไม่เกิน 853 จุด
นาย อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้สั่งการให้ เฮลิคอปเตอร์ มาสนับสนุนการดับไฟป่าในเขตพื้นที่ภาคเหนือ เมื่อ 11 มี.ค.67 เพื่อปฏิบัติภารกิจแก้ไขปัญหาดับไฟป่า สั่ง อช.ศรีน่าน ปิดป่าการเข้าใช้ป่าอนุรักษ์คอบคลุมทั้งหมด 3 อำเภอ มี อ.เวียงสา,นาน้อย และ อ.นาหมื่น ทางด้าน อช.ศรีน่าน ได้ขอกำลังจากหน่วยทหารในพื้นที่ จังหวัดน่าน เข้าไปฝังตัวในป่า เพื่อดำเนินกับผู้ลักลอบจุดเผาป่าการลักลอบเข้าพื้นที่ป่าเพื่อตัดไม้ ล่าสัตว์ หาของป่า ซึ่งจะเป็นสาเหตุการเผาป่า ซึ่งทำให้เกิดจุดความร้อน (Hotspots) ภาพรวมของจังหวัดน่าน ทั้ง 7 อุทยานแห่งชาติจังน่าน ได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ภาคีเครือข่าย ชาวบ้าน ช่วยกันไม่ให้จุดความร้อน Hotspot เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ /ภาพข่าว จ.ส.อ.สันติไฌญ จารุพิพัฒน์บุตร/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน