ยะลา – กลุ่ม Raya Leamning Center จับมือ Fenl Hub of Future Education ภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ จัดโครงการห้องเรียนดิ้นได้ เพื่อยืดหยุ่นในกระบวนการเรียนการสอน

วันนี้ 7 พฤษภาคม 2567 ที่ อาคาร 23 (ตึก วจก.) ห้องซาลัค Sa-lal ชั้น 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เทศบาลนครยะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา กลุ่ม Raya Leamning Center ได้ร่วมกับ Fenl (เฟนไอ)Hub of Future Education ภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ จัดโครงการห้องเรียนดิ้นได้ ระหว่าง วันที่ 7-9 พฤษภาคม 2567 เพื่อพัฒนาศักยภาพครูในพื้นที่ ที่มีความหลากหลายทางพหุวัฒนธรรม โดยมี นายอนุชิต กาญจนานุชิต รองนายกเทศมนตรีนครยะลา กล่าวเปิดโครงการฯ ซึ่งได้รับความสนใจจาก คณะผู้บริหาร อาจารย์ คุณครู บุคลากร โรงเรียนในพื้นที่ยะลา และปัตตานี เข้าร่วมจำนวน 13 แห่ง รวม 149 คน รวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
คุณลภัสรดา เจริญสุข หรือ ครูขวัญ ผู้ก่อตั้งรายาเลิร์นนิงเซนเตอร์ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการจัดโครงการห้องเรียนดิ้นได้ ก็เพื่อจัดอบรมคุณครูให้มีความยืดหยุ่นในกระบวนการเรียนการสอนมากขึ้นและเข้าใจรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบฐานสมรรถนะมากยิ่งขึ้น ให้คุณครูได้เรียนรู้เทคนิคและวิธีการสอนโดยใช้กระบวนการ Project Based Learning และนำไปสู่การเข้าใจตัวตนและความถนัดของนักเรียน เตรียมความพร้อมให้กับโรงเรียนในเขตพื้นที่ 3 จังหวัด ก่อนเข้าร่วมโครงการแข่งขัน Zebra Pitch Thailand 2024 ตลอดจนนำเสนอนวัตกรรมที่สามารถขยายผลเป็นธุรกิจได้ อีกทั้งยังเป็นการขยายโอกาสทางการเรียนรู้ให้กับนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็กที่ต้องจัดการกับความท้าทายด้านความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรม และสร้างให้เกิดโครงการต่อเนื่องเพื่อพัฒนาครูในการเตรียมความพร้อมเด็กในการพัฒนาทักษะจำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21
สำหรับโครงการนี้ มีแนวคิดที่เกิดจากตนเองในบทบาทของแม่ เราพยายามหาเครื่องมือที่จะใช้การออกแบบการเรียนการสอน สำหรับลูก จนไปเรียนจริงจังคิดว่าเครื่องมือนี้น่าจะนำมาใช้กับท้องถิ่นได้แต่ก่อนนำมาก็ใช้กับลูกตนเองจนสำเร็จแล้ว และอยากจะมาขยายต่อให้กับลูกๆ หลานๆ คนอื่นด้วย โดยเริ่มต้นเข้าไปขอความอนุเคราะห์ในการจัดโครงการ ที่โรงเรียนบ้านบางโงยซิแน และ โรงเรียนบ้านลาแล เพื่อเข้าไปทดลองจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Project Based Learning ผลที่ออกมาเด็กๆ เปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อการเรียน มีการคิดวิเคราะห์ได้มากกว่าที่เค้าเป็น ทำให้คุณครูคิดว่าวิธีการที่เราใช้ จึงส่งผลให้เด็ก ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ขนาดนั้น หลังจากนั้น ก็มีโรงเรียนอื่นที่อยากจะพัฒนาบุคลากรให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อจะให้ทางรายา ฯ เข้าไปให้เทคนิคดีๆ กับคุณครู ก็เลยเกิดการวบรวมครูในพื้นที่ ที่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเรียนรู้ร่วมกัน จึงเกิดเป็นโครงการห้องเรียนดิ้นได้ในพื้นที่ ของ จ.ยะลา ขึ้นซึ่งไม่เพียงแต่ใน จ.ยะลา ครูที่เข้าร่วมเป็นครูในพื้นที่ยะลา ปัตตานี รวมถึง นักศึกษาโครงการครูรักษ์ถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา เข้าร่วมในโครงการนี้ด้วย
สำหรับความคาดหวังนั้น ครูขวัญ ระบุว่า จริงๆ แล้ว ตัวโครงการเป็นการที่ทำให้ครูเข้าใจตัวเองก่อน เค้าก็จะเข้าใจคนอื่นด้วย ซึ่งจะต้องมีพื้นที่ที่ปลอดภัยมากพอ เชื่อว่าไม่ว่าเด็กจะแชร์อะไรออกมาหรือคุณครูมีแนวคิดแบบไหนคนทุกคนก็จะเคารพกัน จะทำให้การเรียนการสอนเกิดการพัฒนาต่อยอด อย่างรวดเร็ว

You missed