เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 องค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน โครงการทหารพันธุ์ดีมณฑลทหารบก ที่ 38 ค่ายสุริยพงษ์ จังหวัดน่าน และหน่วยงานอุทยานแห่งชาติขุนน่าน จัด“โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ประจำปีงบประมาณ 2567 ปล่อยปลามัน 1,000,000 ตัว

ได้รับเกียรติจากนางพิมลพันธุ์ จันโทภาส นายอำเภอบ่อเกลือ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี โดยมีนายเมธวัฒน์ พุทธิธาดากุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงพญาเป็นผู้กล่าวรายงาน

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ สืบเนื่องจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ที่ทรงหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีความสำคัญ ควบคู่กับการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า ซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันของทุกประเทศ กล่าวคือ การพัฒนายิ่งรุดหน้า ปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและภาวะมลพิษก็ยิ่งก่อตัว และทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าวอยู่ในขณะนี้”

การดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ยังตอบสนองตามนโยบายรัฐบาลทางองค์การบริหารส่วนตำบลดงพญาจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ เพื่ออนุรักษ์พันธ์ปลาไทยหายาก อนุรักษ์แหล่งผลิตทรัพยากรธรรมชาติในการบริโภคเพื่อสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่ชุมชน โดยให้ความสำคัญในการเร่งรัดแก้ไขปัญหาการลดถอยของทรัพยากรน้ำและพันธุ์ปลาไทยหายาก จึงได้กำหนดให้มีโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจสถานที่สาธารณะ แหล่งท่องเที่ยว โดยองค์การบริหารส่วนตำบลพงพญาได้มีแนวคิดภายใต้ โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้ทั้งภาคเอกชน ชุมชน และหน่วยงานของรัฐร่วมกันขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม โดยดำเนินการรณรงค์สร้างพฤติกรรมและจิตสำนึกของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำของท้องถิ่น เพื่อรักษาทรัพยากรน้ำในท้องถิ่น ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน เตรียมความพร้อมในการรับฤดูกาลท่องเที่ยวในปี 2567 รวมทั้งการดำเนินกิจกรรดังกล่าวยังเป็นการพัฒนาต้นแบบ และระบบบริหารจัดการแบบบูรณาการเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบ รวมทั้งการพื้นฟูและช่วยเหลือทรัพยากรด้านประมงภูเขาในพื้นที่จังหวัดน่าน จากภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดยการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ช่วยศาสตราจารย์อมรชัย ล้อทองคำ และคณาจารย์จากสาขาวิชาประมง คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา น่าน เป็นผู้ให้การสนับสนุนถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านวิชาการ เรื่องของการเพาะขยายพันธุ์และอนุรักษ์พันธ์ุปลาเลียหิน หรือปลามัน ซึ่งการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ได้ปล่อยลูกพันธุ์ปลามันจำนวน 1,000,000 ตัว

โดยมีผู้เข้าร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐภาคเอกชน ภาคประชาชน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข โรงเรียน และศูนย์ผลิตพันธุ์ปลาน้ำจืดพระราชทานฯ เพื่อนช่วยเพื่อนพื้นที่ภาคเหนือตอนบน หัวหน้าโครงการวิจัย การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและประชากรปลาต้นน้ำว้าเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในจังหวัดน่าน และประชาชนในระดับพื้นที่/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

You missed