จังหวัดน่าน ร่วมกับชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดน่าน ดำเนินการประกวดสุดยอดผ้าจังหวัดน่าน ประจำปี 2567จังหวัดน่าน ร่วมกับชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดน่าน ดำเนินการประกวดสุดยอดผ้าจังหวัดน่าน ประจำปี 2567


วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุม เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ชั้น 6 ศาลากลางจังหวัดน่าน นายชัยนรงค์ วงค์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ประธานเปิดการจัดประกวดสุดยอดผ้าจังหวัดน่าน ประจำปี 2567 โดยมีนายเทวา ปัญญาบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เข้าให้กำลังใจแก่ผู้เข้าประกวด และนางสุภาสินี งามธุระ รองประธานแม่บ้านมหาดไทย อาจารย์จากสถาบันการศึกษา หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวด
การจัดกิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาภูมิปัญญาผ้าไทย สืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และขับเคลื่อนโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา รวมทั้งเป็นการผลักดันมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย ตลอดจนเพื่อค้นหาสุดยอดผ้าจังหวัดให้ได้ผืนผ้าที่เป็นที่สุดของจังหวัดน่าน ซึ่งผ้าผืนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศของจังหวัด จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2567
การประกวดสุดยอดผ้าจังหวัดน่านในครั้งนี้ มีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้า ช่างทอผ้า ร่วมสมัครส่งผลงานประกวด จำนวน 21ราย โดยมีผ้าที่ส่งประกวด จำนวน 53 ผืน แบ่งเป็น ประเภทผ้าเกาะล้วง 12 ผืน ผ้ามัดก่าน(คาดก่าน) 4 ผืน ผ้ายกมุก/ผ้ายกดอก 9 ผืน ผ้าจก 12 ผืน ผ้าเทคนิคผสม 12 ผืน ผ้าเขียนเทียนชนเผ่า1ผืน และผ้าปักมือชนเผ่า 3 ผืน
โดยเงื่อนไขการส่งผ้าเข้าประกวดต้องเป็นผ้าพื้นถิ่นของจังหวัดน่าน และต้องเป็นผ้าทอมือหรือทำจากมือและควรเป็นสีธรรมชาติ อาจเป็นผืนผ้าที่ทอไว้เดิมแล้ว (ไม่จำกัดระยะเวลา) หรือเป็นผ้าที่ทอขึ้นใหม่ก็ได้ สำหรับประเภทผ้าที่ส่งเข้าประกวด ต้องมีลวดลายมีความคมชัด ความสม่ำเสมอของสีและเนื้อผ้า และความเรียบร้อยของผืนผ้า
1) รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 15,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1ได้รับเงินรางวัล 6,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2ได้รับเงินรางวัล 4,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
4) รางวัลสุดยอดผ้าแต่ละประเภท 4 รางวัล ได้รับเงินรางวัล ๆ ละ 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
โดยมีผู้สนับสนุนงบประมาณในการประกวดสุดยอดผ้าจังหวัดน่าน ประจำปี 2567 จากภาคเอกชน ได้แก่
1. ไร่พุทธรักษา 88 โดย นายอำนวย กลิ่นอยู่ จำนวนเงิน 30,000 บาท
2. ร้านผ้าน่านบุรี โดย นางธีร์วรา ริพล จำนวนเงิน 5,000 บาท
3. ร้านฝ้ายเงิน โดย นายเทิดศักดิ์ อินแสง จำนวนเงิน 5,000 บาท
การจัดการประกวดสุดยอดผ้าจังหวัดน่าน ประจำปี 2567 ในครั้งนี้ ถือเป็นงานหัตถศิลป์ หัตถกรรม ที่แสดงออกถึงความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด เป็นสิ่งล้ำค่าของจังหวัดน่าน ผ่านสิ่งที่จับต้องไม่ได้คือภูมิปัญญา แต่สิ่งที่จับต้องได้คือชิ้นงานที่เราสามารถแปลงเป็นรูปธรรมให้หลากหลายด้วยพระราชดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่พระองค์มีพระปณิธานมุ่งมั่นในการแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชดำริการส่งเสริมผ้าไทยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งผ้าไทยมีนัยยะสำคัญที่คนไทยรับสืบทอดความรู้จากบรรพบุรุษ และสามารถสร้างสรรค์ ต่อยอดทำขึ้นมาเองได้ เพื่อสร้างรายได้กลับสู่ชุมชน ด้วยการส่งเสริม และกระตุ้นผ้าไทยให้ทันสมัย เป็นที่นิยมของทุกเพศ ทุกวัย และทุกโอกาส ซึ่งนับตั้งแต่จังหวัดน่านได้ขับเคลื่อนโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ทำให้กลุ่มทอผ้าจังหวัดน่าน
มีรายได้จากการจำหน่ายผ้าไทยสร้างรายได้ในชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งส่งเสริมการจัดอบรมให้ความรู้ กับผู้ผลิตและช่างทอผ้า ในการใช้สีธรรมชาติแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของการใช้สีธรรมชาติ รวมถึงนำวัตถุดิบพื้นถิ่นในชุมชนมาใช้ในการทอ เพิ่มคุณค่า และมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไทยให้สามารถก้าวสู่ระดับสากล เพื่อวิถีชุมชนที่ยังยืน และขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ด้านความเป็นอยู่ และการรักษาสิ่งแวดล้อม/
ภาพข่าว/ชารี ชัยชนะ อุปนายกสมาคม/ร.ต.อ.สถิตย์ ศรีประสม/คณะกรรมการสมาคม/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน
วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุม เจ้ามหาพรหมสุรธาดา ชั้น 6 ศาลากลางจังหวัดน่าน นายชัยนรงค์ วงค์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ประธานเปิดการจัดประกวดสุดยอดผ้าจังหวัดน่าน ประจำปี 2567 โดยมีนายเทวา ปัญญาบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เข้าให้กำลังใจแก่ผู้เข้าประกวด และนางสุภาสินี งามธุระ รองประธานแม่บ้านมหาดไทย อาจารย์จากสถาบันการศึกษา หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวด
การจัดกิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาภูมิปัญญาผ้าไทย สืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และขับเคลื่อนโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา รวมทั้งเป็นการผลักดันมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย ตลอดจนเพื่อค้นหาสุดยอดผ้าจังหวัดให้ได้ผืนผ้าที่เป็นที่สุดของจังหวัดน่าน ซึ่งผ้าผืนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศของจังหวัด จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2567
การประกวดสุดยอดผ้าจังหวัดน่านในครั้งนี้ มีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้า ช่างทอผ้า ร่วมสมัครส่งผลงานประกวด จำนวน 21ราย โดยมีผ้าที่ส่งประกวด จำนวน 53 ผืน แบ่งเป็น ประเภทผ้าเกาะล้วง 12 ผืน ผ้ามัดก่าน(คาดก่าน) 4 ผืน ผ้ายกมุก/ผ้ายกดอก 9 ผืน ผ้าจก 12 ผืน ผ้าเทคนิคผสม 12 ผืน ผ้าเขียนเทียนชนเผ่า1ผืน และผ้าปักมือชนเผ่า 3 ผืน
โดยเงื่อนไขการส่งผ้าเข้าประกวดต้องเป็นผ้าพื้นถิ่นของจังหวัดน่าน และต้องเป็นผ้าทอมือหรือทำจากมือและควรเป็นสีธรรมชาติ อาจเป็นผืนผ้าที่ทอไว้เดิมแล้ว (ไม่จำกัดระยะเวลา) หรือเป็นผ้าที่ทอขึ้นใหม่ก็ได้ สำหรับประเภทผ้าที่ส่งเข้าประกวด ต้องมีลวดลายมีความคมชัด ความสม่ำเสมอของสีและเนื้อผ้า และความเรียบร้อยของผืนผ้า
1) รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 15,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1ได้รับเงินรางวัล 6,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2ได้รับเงินรางวัล 4,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
4) รางวัลสุดยอดผ้าแต่ละประเภท 4 รางวัล ได้รับเงินรางวัล ๆ ละ 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
โดยมีผู้สนับสนุนงบประมาณในการประกวดสุดยอดผ้าจังหวัดน่าน ประจำปี 2567 จากภาคเอกชน ได้แก่
1. ไร่พุทธรักษา 88 โดย นายอำนวย กลิ่นอยู่ จำนวนเงิน 30,000 บาท
2. ร้านผ้าน่านบุรี โดย นางธีร์วรา ริพล จำนวนเงิน 5,000 บาท
3. ร้านฝ้ายเงิน โดย นายเทิดศักดิ์ อินแสง จำนวนเงิน 5,000 บาท
การจัดการประกวดสุดยอดผ้าจังหวัดน่าน ประจำปี 2567 ในครั้งนี้ ถือเป็นงานหัตถศิลป์ หัตถกรรม ที่แสดงออกถึงความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด เป็นสิ่งล้ำค่าของจังหวัดน่าน ผ่านสิ่งที่จับต้องไม่ได้คือภูมิปัญญา แต่สิ่งที่จับต้องได้คือชิ้นงานที่เราสามารถแปลงเป็นรูปธรรมให้หลากหลายด้วยพระราชดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่พระองค์มีพระปณิธานมุ่งมั่นในการแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชดำริการส่งเสริมผ้าไทยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งผ้าไทยมีนัยยะสำคัญที่คนไทยรับสืบทอดความรู้จากบรรพบุรุษ และสามารถสร้างสรรค์ ต่อยอดทำขึ้นมาเองได้ เพื่อสร้างรายได้กลับสู่ชุมชน ด้วยการส่งเสริม และกระตุ้นผ้าไทยให้ทันสมัย เป็นที่นิยมของทุกเพศ ทุกวัย และทุกโอกาส ซึ่งนับตั้งแต่จังหวัดน่านได้ขับเคลื่อนโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ทำให้กลุ่มทอผ้าจังหวัดน่าน
มีรายได้จากการจำหน่ายผ้าไทยสร้างรายได้ในชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งส่งเสริมการจัดอบรมให้ความรู้ กับผู้ผลิตและช่างทอผ้า ในการใช้สีธรรมชาติแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของการใช้สีธรรมชาติ รวมถึงนำวัตถุดิบพื้นถิ่นในชุมชนมาใช้ในการทอ เพิ่มคุณค่า และมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไทยให้สามารถก้าวสู่ระดับสากล เพื่อวิถีชุมชนที่ยังยืน และขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ด้านความเป็นอยู่ และการรักษาสิ่งแวดล้อม/
ภาพข่าว/ชารี ชัยชนะ อุปนายกสมาคม/ร.ต.อ.สถิตย์ ศรีประสม/คณะกรรมการสมาคม/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

You missed