น่านจัดโครงการขยายผลวิทยากรเพื่อทำหน้าที่ผู้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย
ประจำท้องถิ่นระดับอำเภอ และระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ครู ข)


จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ ๒ กรกฏาคม ๒๕๖๗ ณ โรงแรมน้ำทองน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมด้วยนายสมชาย เกตะมะ ท้องถิ่นจังหวัดน่าน หัวหน้าส่วนราชการได้เดินทางมาร่วมรับฟังพิธีเปิดและให้กำลังใจวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมโครงการขยายผลเพื่อทำหน้าที่ผู้ถ่ายทอดความรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยประจำท้องถิ่นระดับอำเภอและระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ครู ข.)โดยมีดร.สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการผ่านระบบซูม ณ ห้องประชุมราชบพิธ ชั้น ๕ อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย
๑. หลักการและเหตุผล
สังคมไทยให้ความสำคัญกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ประเทศไทย มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของการดำรงอยู่ของชาติไทยมาอย่างต่อเนื่อง
เป็นสถาบันทางสังคมที่เข้มแข็ง ยืนยง ทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาความเป็นไทยภายใต้พระบรมโพธิสมภาร
มาจนถึงปัจจุบัน สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเสาหลักที่สำคัญของสังคมไทยในทุก ๆ ด้าน เป็นสมบัติล้ำค่าที่ชาวไทยทุกคนจะต้องร่วมกันปกป้องให้สถาบันพระมหากษัตริย์คงอยู่ตลอดไป พระมหากษัตริย์ไทย
ทรงครองราชย์ ปกป้องบ้านเมือง ทำนุบำรุงบ้านเมือง ศาสนา และสังคมมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าประเทศไทย
จะมีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่สถาบันพระมหากษัตริย์กลับเป็นที่เคารพสักการะจากประชาชน
มากเช่นเดิมไม่มีเปลี่ยนแปลงจนถึงปัจจุบันจวบจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร
มหวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ก็ยังทรงมีความเป็นห่วงราษฎรในทุกเรื่อง โดยเฉพาะ
ด้านการศึกษา ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งในด้านการศึกษา โดยเน้นให้การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่
ผู้เรียน การสร้างทัศนคติที่ถูกต้อง (อุปนิสัย ที่มั่นคงเข้มแข็ง การสอนให้มีอาชีพ มีงานทำ รวมถึงการทำให้เยาวชน
มีความสนใจ และเข้าใจในเรื่องของสถาบันพระมหากษัตริย์และประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้อย่างถูกต้อง
จากพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
ทำให้เล็งเห็นความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างระบบความรู้ ความเข้าใจและปลูกฝังอุดมการณ์รักชาติ
ศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยให้กับประชาชนชาวไทย กระทรวงมหาดไทยจึงได้กำหนดหลักสูตร
การอบรมเพื่อสร้างครูประวัติศาสตร์ขึ้นมา
การอบรมประวัติศาสตร์ชาติไทยและบุญคุณของพระมหากษัตริย์ไทย หลักสูตรการสร้างครู
ประวัติศาสตร์ชาติไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบทบาท
และความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อสังคมไทย ตามแนวทางที่ ๑ ของแนวทางการรักษาความมั่นคง
สถาบันหลักของชาติภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ชาติไทย เกิดความภาคภูมิใจในชาติไทย
และเกิดความซาบซึ้ง และสำนึกในบุญคุณของพระมหากษัตริย์ไทย
๒.๒ เพื่อพัฒนาทักษะให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นนักเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ชาติไทยและบุญคุณ
พระมหากษัตริย์ไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๓ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำองค์ความรู้ เรื่อง ความรักชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย
ไปขยายผลโดยการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้อย่างถูกต้อง ปลูกฝัง
การรักในสถาบันชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำรงตนเป็นคนดีของชาติสืบไป
๓ กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๕๔ คน แบ่งเป็น
๓.๑ ผู้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยประจำท้องถิ่น ระดับอำเภอ จำนวน ๔๕ คน
๓.๒ ผู้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยประจำท้องถิ่น (ครู ข.) ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จำนวน ๑๐๙ คน
๓.๓ เป้าหมายเชิงปริมาณ
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมผ่านการสอบสอนตามเกณฑ์การประเมินร้อยละ ๗๕ ขึ้นไป และมีเวลา
ในการเข้ารับการอบรมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘.
๓.๔ เป้าหมายเชิงคุณภาพ
๑. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องประวัติศาสตร์ มีจิตสำนึกรักในสถาบันชาติ ศาสนา
และสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย
๒. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม นำองค์ความรู้ รักชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยไปขยายผล
โดยจัดกระบวนการเรียนการสอนให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้อย่างถูกต้อง ผู้เรียนมีความรัก
และหวงแหนในสถาบันชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ให้ดำรงอยู่คู่ความเป็นไทยตลอดไป
๔. วิธีดำเนินการ
ในการฝึกอบรมแต่ละระยะ แบ่งออกเป็น ๒ ช่วงของการอบรม ประกอบด้วย ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ดังนี้
๔.๑ ภาคทฤษฎี เนื้อหาในภาคทฤษฎี มีการแบ่งเนื้อหาในการอบรมออกเป็น ๒ ส่วน ดังนี้
๔.๑.๑ เนื้อหาหลัก เนื้อหาหลักแบ่งออกเป็น ๑๐ ตอน โดยแต่ละตอนจะมีชื่อตอนที่
เปรียบเทียบกับชื่อ “อัญมณี” ที่มีนัยยะความหมายที่สอดคล้องกับเนื้อหาในแต่ละตอน เพื่อสะท้อนให้เห็น
คุณค่าของประวัติศาสตร์ชาติไทยในแต่ละห้วงสมัย ดังนี้
ตอนที่ ๑ อัญมณี มุกดาหาร หัวข้อ ความเป็นมาของชนชาติไทยและประวัติศาสตร์
ท้องถิ่น
ตอนที่ ๒ อัญมณี นิลกาฬ หัวข้อ เสาหลักและหลักการดำรงอยู่ได้ของชาติไทย
ตอนที่ ๓ อัญมณี โกเมน หัวข้อ ประวัติศาสตร์ชาติไทย ความเสียสละของบูรพมหากษัตริย์ไทย
ในยุคกรุงสุโขทัย
ตอนที่ ๔ อัญมณี เพทาย หัวข้อ ประวัติศาสตร์ชาติไทย ความเสียสละของบูรพมหากษัตริย์ไทย
ในยุคกรุงศรีอยุธยา
ตอนที่ ๕ อัญมณี มรกต หัวข้อ ประวัติศาสตร์ซาติไหย ความเสียสละของบูรพมหากษัตริย์ไทย
ในยุคกรุงธนบุรี
ตอนที่ ๖ อัญมณี ทับทิม หัวข้อ พระราชประวัติ พระมหากษัตริย์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ช่วงรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๓
ตอนที่ ๗ อัญมณี ไพฑูรย์ หัวข้อ พระราชประวัติ พระมหากษัตริย์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ช่วงรัชกาลที่ ๔ รัชกาลที่ ๖

ตอนที่ ๘ อัญมณี ไพลิน หัวข้อ พระราชประวัติ พระมหากษัตริย์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ช่วงรัชกาลที่ ๗ – รัชกาลที่ ๘
ตอนที่ ๙ อัญมณี บุษราคัม หัวข้อ พระราชประวัติ พระมหากษัตริย์ ในสมัยกรุงรัตโกสินทร์
ช่วงรัชกาลที่ ๙
ตอนที่ ๑๐ อัญมณี เพชร หัวข้อ พระราชประวัติ พระบุญญาธิการ พระอัจฉริยภาพ
และพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๑๐
๔.๑.๒ การบรรยายพิเศษ เนื้อหาการบรรยายพิเศษ
หัวข้อ “พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
พุทธศักราช ๒๔๗๕”
๔.๒ ภาคปฏิบัติ ในภาคปฏิบัตินั้นเป็นการสอบสอนวิชาประวัติศาสตร์ โดยผู้เข้ารับการอบรม
จะได้ศึกษาเนื้อหาทั้งหมดที่ได้รับการสอนในภาคทฤษฎี มาสรุปเป็นเนื้อหาที่จะมาทำการสอบสอน โดยผู้เข้ารับ
การอบรมจะได้สอบสอนทั้ง ๑๐ หัวข้อ ตามที่ได้กำหนดเป็นเนื้อหาหลักสูตรผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ มีความรักชาติ ศาสนา
และสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปขยายผลโดยการจัดกระบวนการเรียนการสอน
ให้กับนักเรียน นักศึกษา เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้อย่างถูกต้อง ผู้เรียนมีความรักและหวงแหนในสถาบันชาติ
ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ดำรงอยู่คู่ความเป็นไทยตลอดไป
๕. ระยะเวลาดำเนินการ
วันที่ ๒ – ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๗ (๓ วัน ๒ คืน)บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่านรายงาน

You missed